Mar 23, 2012

บังอบายเบิกฟ้า ...ตำราพิไชยสงครามไทย ใครแต่ง ใครรจนา



ความน่าสนใจและเสน่ห์ของ "ตำราพิไชยสงครามไทย" อยู่ที่ว่า มี  "ศาสตร์และองค์ความรู้" ที่คนรุ่นหลังยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ทั้งหมด แ้ม้จนกระทั่งในปัจจุบันี้

ในระหว่างที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ "ตำราพิไชยสงครามไทย"  มีคำถามเกิดขึ้้นมากมายโดยเฉพาะว่า "ใครคือผู้แต่งหรือรจนา" ในครั้งเริ่แรกของไทย และเขียนขึ้นได้อย่างไร

มีโคลงสีสุภาพ 2 บท ในตำราพิไชยสงคราม เล่มคำกลอน ซึ่งถือเป็นหัวใจทีเดียว หากได้มีการศึกษาอย่างลึกซึ้งจะไขปริศนา ที่ผู้เขียนถามไว้ข้างต้น

           ตำราวรวากยไว้               วิถาร    
       พิไชยสงครามการ               ศึกสิ้น
       จงหาที่พิสดาร                    เติมต่อ
       จงอย่าลืมกลสิ้น                  เล่ห์เลี้ยวจำความ
          สมเด็จจักรพรรดิรู้             คัมภีร์
       ชื้่่อว่า กามันทะกี                 กล่าวแก้
       พิไชยสงครามศรี                 สูรราช
       ยี่สิบเอ็ดกลแล้                    เลิศให้เห็นกล

(ดร.ดนัย  เทียนพุฒ ถอดความเป็นภาษาปัจจุบันโดยปรับปรุงใหม่ จากต้นฉบับสมุดไทย ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์  ณ. ก.พ.2555)    

ผลการศึกษาล่าสุดของผู้เขียน พบว่า
1. ไทยเรามีตำราพิไชยสงคราม ใช้ก่อน ที่จะมีการรวบรวมจัดทำเป็นฉบับแรก ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ปี พ.ศ.2041 
2. ตำราพิไชยสงคราม ฉบับที่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  ..แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม    นั้นพระองค์ทรงรจนาและแก้จาก มา จาก ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ ชื่อว่า "กามันทะกียะ"                                                                            
3.ผู้แต่ง ตำราพิไชยสงคราม ฉบับแรก ที่ในโคลงสี่สุภาพ ระบุไว้ว่า
      "สมเด็จจักรพรรดิรู้     คัมภีร์"  .... ในที่นี้คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2


4.และตำราพิไชยสงครามไทยก่อน สมัยสมเด็จพระรามธิบดีที่ 2  มีเค้าเงื่่อนว่า รากแนวคิดของพิไชยสงคราม น่าจะมาจาก มหากาพย์..."มหาภารตะยุทธ"

และในตำราพิไชยสงคราม ฉบับเืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอน หน้าต้น สมุดไทยขาว เขียน โคลงกระทู้ (1คำ) ไว้ว่า

พิ        เคราะห์การศึกใช้              โดยขบวน
ไชยะ   สฤดีทั้งมวล                      ท่านไว้
สง       สัยสิ่งใดควร                     คิดร่ำเรียนนา
คราม   ศึกกลศึกให้                      ถ่องแท้หรือไทยหวัง

(ดร.ดนัย เทียนพุฒ ถอดเป็นภาษาปัจจุบัน โดยปรับปรุงใหม่ จากต้นฉบับสมุดไทย ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์  ณ. ก.พ.2555) 

แสดงให้เห็นถึง การชี้ชวนให้ศึกษาให้เข้าใจ  ยิ่งสงสัยยิ่งต้องร่ำเรียน 

(*อ้างอิงจาก ดร.ดนัย เทียนพุฒ, 2555 : ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ -ต้นฉบับอัดสำเนา)



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


      



Mar 16, 2012

ตำราพิไชยสงคราม รัชกาลที่ 2 เล่มว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ


ตอนที่เข้าไปศึกษา สมุดอักษรจารึกและตัวเขียนโบราณ  ที่สำนักหอสุดแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ที่ไปและที่มาของ ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์  ได้พบและอ่าน...
"สมุดแผนที่พิไชยสงครามยกใหม่"  บันทึกไว้ว่า  ตำราพิไชยสงคราม เล่ม ๑ ว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ  ชุบในสมัยรัชกาลที่ 2 

ภาพหน้าสมุด เป็นดังรูป ที่ผู้เขียนขอสำเนามา เป็นขาวดำ (เสียค่าบริการ) ต้นฉบับ ตัวอักษรสีทอง สวยงามมาก

ที่สะดุดตา มากสุด ..คือ ภาพข้างล่าง เป็ยลักษณะของชัยภูมิ ที่มีต้นไ้ม้ 3 ต้น ลำธาร และภูเขา พร้อม ช้างอีก 2 เชือก  ในหน้าแรกนี้ ไม่พบในฉบับเมืองเพชรบูรณ์  หรือ อีกฉบับที่เป็น "สมุดพิไชยสงคราม กระบวนพยุหะ"  ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ก็ไม่พบเช่นกัน สันนิษฐานว่า ฉบับรัชกาลที่ 2 ได้ชุบใหม่ตามต้นฉบับจริง เพราะที่เป็นฉบับคัดลอกไม่พบในเล่มอื่น ๆ


ส่วนที่กล่าวถึง พยุหะเช่น ปทุมพยุหะ ไม่ได้มี เป็นภาพ ทรงดอกบัว ปลายแหลมตามที่อ้างกันต่อ ๆ มาหลายเล่มในปัจจุบัน แต่ในตำราพิไชยสงครามมี แผนภาพที่แตกต่างออกไป




ส่วนอีกพยุหะ หนึ่งเป็นพยุหะหลักในการทำสงครามของชาวอินเดีย เรียกว่า "จักรพยุหะ"  ของไทยเรามีแผนภาพที่ ง่ายกว่า ของ ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ  ดังแผนภาพ แรกข้างล่าง



 ขณะที่ จักรพยุหะในมหากาพย์ มหาภารตะยุทธ  เป็นภาพสลักที่ นครวัด ในสมัยขอมโบราณ  เป็นรูปคล้าย ล้อรถศึก

                             (http://anu-photocollection.blogspot.com/2009/06/mahabharat-depicted-on-walls-of.html )

มีอีกแผนภาพพยุหะหนึ่ง ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ  ครุฑพยุหะ (แผนภาพครุฑพยุหะ)  แผนภาพแรก เป็นที่ผู้เขียนสำเนามา  ส่วนภาพที่ลงสี เป็นภาพที่มีเผยแพร่ในหนังสือหลายเล่ม เช่น การทหารของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หนังสือครุฑ และ หนังสือกระบวนพยุหะยาตราประวัติและพระราชพิธี เป็นต้น




ขณะเดียวกัน แต่ละภาพนี้เรียกกันว่าอย่างไร ตามที่ผู้เขียนได้อ่าน ตำราพิไชยสงครามจาก สมุดไทย ในสมัยโบราณมีเค้่าเงื่อนว่า เป็น ...แผนภาพกระบวนพยุหะ  เช่น แผนภาพปทุมพยุหะ  แผนภาพจักรพยุหะ
มากกว่าการเรียกชื่อแบบอื่น ๆ ครับ


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Mar 2, 2012

รถพยุหะในตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 สำนักหอสมุดแ่ห่งชาติ



ในช่วงเดือน ธ.ค.54 ระหว่างที่ทำการศึกษา เอกสารโบราณ "ตำราพิไชยสงคราม" ณ สำนักหอสมุด แห่งชาติ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก มีตำราทั้งหมด   217 เล่ม หมวดยุทธศาสตร์

ได้อ่านอยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ ตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 "ว่าด้วยอักษรแปดหมู่และการจัดทัพ"  สมุดไทยขาว ตัวอักษรดำ ภาษาไทย-ขอม เดิมเป็นคัมภีร์ของพญายอง ภาษาหริภุญชัย พระยาวิชาธรรม หลวงลิขิตปรีชา จำลองออกเป็นอักษรขอม ไทย
เริ่มด้วย พระคัมภีร์มหาสัทนิตย พระคัมภีร์จุลสัทนิตย พระคัมภีร์รุกโตไทยมาลินี เป็นวิธีอุปเทพบุพาจารยหริภุญชัยประสงค์เพื่อให้ผู้เป็นกวีราช ปุโรหิตาจารย์ ตั้งแต่งพระอักษร จารึกพระสุพรรณบัตรถวายพระนามกษัตริย์ขัติยราชวงษานุวงษ์ให้เจริญเดชานุภาพ และจะตั้งแต่นามบ้านเมือง ตั้งชื่อเสนามนตรี             มุขมาตยผู้ใหญ่ผู้น้อย ตั้งชื่อกุมารกุมารีและ ตั้งศุภอักษรราชสารเจรจาความเมือง และแต่งคำอุปกาษเทพยดา ประกอบในพระราชพิธีศุภมงคล เพื่อจะป้องวัน สรรพภัยภยันตรายพึงพิจารณาอักขระต้นสามอักษร ให้ต้องครุ ลหุ ในคณะหมู่ทั้ง สี่หมู่

หน้าต้น 1-74  เริ่มการจัดทัพหน้า 29 เป็นต้นไป
หน้าปลาย 1-77  จัดทัพ ถึงหน้า 11

มีพยุหะหนึ่งที่คุ้นมาก ในฉบับ กรมศิลปากร ปี 2512 คือ ครุฑพยุหะ ในหน้า 29-30


 และในหน้า 61-62  ยังมีภาพ รถพยุหะ ยกทัพ เดินทางหรือคับขันช่องทางแคบ ตามแม่น้ำ ภูเขา ป่าชัฏ  ทุ่งกว้าง ให้ตั้งตามชื่อ จะตั้งค่ายอยู่ก็ได้ จะตีกลางแปลงก็ได้ (วาดคร่าว ๆ มาเป็นต้นฉบับ)


ตามที่อนุมานกันว่า  ในจตุรงคเสนามีพล 4 เหล่า พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า  ไทยเราไม่มีพลรถ ดูท่า เห็นจะต้องศึกษากันอีก เพราะ หากมีพยุหะที่เรียกว่า "รถพยุหะ" แล้วไฉนจะไม่ีมีพลรถ    ในลิลิตตะเลงพ่ายก็ยังมีบทบรรยาย พลรถไว้ด้วย  น่าคิดครับ

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com