หลายท่านที่สนใจในตำราพิไชยสงคราม คงได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือ และเอกสารต่าง ๆ ขณะที่บางท่านอาจมีโอกาสได้ศึกษาจาก เอกสารโบราณที่เป็น ฉบับสุดไทยดำ-ไทยขาว (ผู้เขียนแนะนำให้ลองหาโอกาสศึกษา เพื่อได้สัมผัสจริง ๆ ถึง มรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย)
ในลิลิตตะเลงพ่าย ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีเอกแห่งราชวงค์จักรี ซึ่งไม่มีกวีใดในปัจจุบันเทียบเทียมได้
ตามโคลงที่ 29 ที่พระเจ้านันทบุเรงให้โอวาทและอวยชัยแก่พระราชบุตร มหาอุปราชที่จะยกทัพไปปราบ กรุงศรีอยุธยาซึ่งประกาศไม่เป็นเมืองขึ้นแก่หงสาวดี ส่วนหนึ่งดังนี้
หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน
เจนจิตวิทยาการ กาจแกล้ว
รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา
อาจจักรอนรณแผ้ว แผกแพ้พังหนี
(วัดพระเชตุพน , 2528: 8 หนังสือ ลิลิตตะเลงพ่ายและพระเกียรติบางประการ )
ซึ่งตีความกันว่า ชัยภูมิพยุหะ นั้นมี 8 นาม เมื่อได้ครวจสอบและเทียบกับตำราพิไชยสงครามฉบับ หลวงพิไชยเสนา ฉบับรัชกาลที่ 1 และอีกหลาย ๆ ฉบับ แน่ชัดว่าเป็นนามตามนั้น ขณะที่ในตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มกระบวนพยุหะ มีแผนภาพ ชัยภูมิพยุหะ ทั้ง 8 นามสัตว์คือ ครุฑนาม พยัคฆนาม สีหนาม สุนัขนาม นาคนาม มุสิกนาม อัชนาม และคชนาม พร้อมกับ กำหนดไว้ตามมหาทักษาพยากรณ์ ด้วย (ตามดวงดาว ) ดังแผนภาพที่นำมาแสดงไว้
ข้อความในตำราพิไชยสงคราม มีดังนี้
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
No comments:
Post a Comment