Mar 2, 2012

รถพยุหะในตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 สำนักหอสมุดแ่ห่งชาติ



ในช่วงเดือน ธ.ค.54 ระหว่างที่ทำการศึกษา เอกสารโบราณ "ตำราพิไชยสงคราม" ณ สำนักหอสมุด แห่งชาติ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก มีตำราทั้งหมด   217 เล่ม หมวดยุทธศาสตร์

ได้อ่านอยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ ตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 "ว่าด้วยอักษรแปดหมู่และการจัดทัพ"  สมุดไทยขาว ตัวอักษรดำ ภาษาไทย-ขอม เดิมเป็นคัมภีร์ของพญายอง ภาษาหริภุญชัย พระยาวิชาธรรม หลวงลิขิตปรีชา จำลองออกเป็นอักษรขอม ไทย
เริ่มด้วย พระคัมภีร์มหาสัทนิตย พระคัมภีร์จุลสัทนิตย พระคัมภีร์รุกโตไทยมาลินี เป็นวิธีอุปเทพบุพาจารยหริภุญชัยประสงค์เพื่อให้ผู้เป็นกวีราช ปุโรหิตาจารย์ ตั้งแต่งพระอักษร จารึกพระสุพรรณบัตรถวายพระนามกษัตริย์ขัติยราชวงษานุวงษ์ให้เจริญเดชานุภาพ และจะตั้งแต่นามบ้านเมือง ตั้งชื่อเสนามนตรี             มุขมาตยผู้ใหญ่ผู้น้อย ตั้งชื่อกุมารกุมารีและ ตั้งศุภอักษรราชสารเจรจาความเมือง และแต่งคำอุปกาษเทพยดา ประกอบในพระราชพิธีศุภมงคล เพื่อจะป้องวัน สรรพภัยภยันตรายพึงพิจารณาอักขระต้นสามอักษร ให้ต้องครุ ลหุ ในคณะหมู่ทั้ง สี่หมู่

หน้าต้น 1-74  เริ่มการจัดทัพหน้า 29 เป็นต้นไป
หน้าปลาย 1-77  จัดทัพ ถึงหน้า 11

มีพยุหะหนึ่งที่คุ้นมาก ในฉบับ กรมศิลปากร ปี 2512 คือ ครุฑพยุหะ ในหน้า 29-30


 และในหน้า 61-62  ยังมีภาพ รถพยุหะ ยกทัพ เดินทางหรือคับขันช่องทางแคบ ตามแม่น้ำ ภูเขา ป่าชัฏ  ทุ่งกว้าง ให้ตั้งตามชื่อ จะตั้งค่ายอยู่ก็ได้ จะตีกลางแปลงก็ได้ (วาดคร่าว ๆ มาเป็นต้นฉบับ)


ตามที่อนุมานกันว่า  ในจตุรงคเสนามีพล 4 เหล่า พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า  ไทยเราไม่มีพลรถ ดูท่า เห็นจะต้องศึกษากันอีก เพราะ หากมีพยุหะที่เรียกว่า "รถพยุหะ" แล้วไฉนจะไม่ีมีพลรถ    ในลิลิตตะเลงพ่ายก็ยังมีบทบรรยาย พลรถไว้ด้วย  น่าคิดครับ

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com




No comments: