Dec 5, 2011

ตำราพิไชยสงครามไทยมี 2 ตำรับ




           เป็นที่สงสัยและศึกษาค้นคว้ากันมานานว่า ในความเป็นจริงแล้วตำราพิชัยสงครามของไทยเรามีกี่เล่มที่เป็นหลักยึด ศึกษาเรียนรู้ของบรรดาแม่ทัพนายกอง  และใช้อบรมสั่งสอนทแกล้ว ทหารในอดีตกาลนับตั้งแต่ (อาจจะก่อน) อาณาจักรสุโขทัย สืบสายทอดยาวไกลผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอย ฟื้นกลับมารุ่งเรืองจวบจนถึง รัตนโกสินทร์ตอนต้น
              
          หลักฐานที่ปรากฎ
           1." ฉบับพระบวระพิไชยสงคราม ตำรับไญย ชำระในรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เ ริ่ม ทำใ นจุลศักราช 1187(พ.ศ.2368)  จนสำ             เร็จได้ คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง ไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง"
        สมเด็จฯ กรมพราะยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า.. ปัจจุบันเป็นหนังสืกว่า 10 เล่มสมุดไทย เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแห่งใดที่จะบริบรูณ์ครบจำนวนสักแห่งเดียว  แบ่งได้เป็น 3 แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี  การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ...ตำราการรบพุ่งและอุบายสงครามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่งเป็นกลอน
         2ตำราพิชัยสงคราม  ฉ.รัชกาล ที่ 1(พิพม์เ ผยแพร่ชำระใหม่เป็นฉบับร่วมสมัยมีคำอธิบาย 2545)
   มีจำนวน 6 เล่ม เลขที่ 177 125 122 181 118 และ 184 จากเอกสารหมวดยุทธศาสตร์ หอมุดแห่งชาติ เป็นฉบับที่เขียนขึ้นใน ร. 1 มีเนื้อาเรื่องราวต่อเนื่องกัน และถือได้ว่าเป็นต้นฉบับ ที่คัดลอกมาเป็นฉบับหลวง มีอาลักษณ์เป็นผู้ชุบเส้นตัวอักษร และมีอาลักษณ์ชั้นผู้ใหญ่ตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งด้วย
        เล่มที่ 1 ว่าด้วยบทอาศิรวาท แล้วกล่าวถึงความสำคัญของตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์เกี่ยวกับการศึกสงคราม กลศึก 21กล นิมิตดี-ร้ายต่าง ๆ ลมที่พัดในร่างกาย และคำอธิบายกลศึกต่างๆ 
       เล่มที่ 2 ว่าด้วยกลศึกต่อจากเล่มแรก  ต่อด้วกลวิธีใการเคลื่อนพล ฤกษ์นาคร และยายี วิธีเล่นชัยภูมิ นิมิตบอกเหตุ  แลลักษณะความฝันที่เป็นนิมิตมงคล
         เล่มที่ 3 กลวิธีในการเคลื่อนพล การจัดทัพเป็นรูกระบวนต่างๆ เช่น กรศพยู๋ห์ ครุฑพยู่ห์  ตำราดูนิมิต มีภาพสีนำ้ยาลักษณะของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวหา ราศีต่าง ๆ 
      เล่มที่ 4 การจัดทัพเป็นรูปกระบวนต่าง ๆ มหาทักษาพยากรณ์ว่าด้วยการทำนายนามเมือง นมเสนาบดี เพื่อคัเลือพลที่เป็นนามมคลเข้ากงทัพ วันและฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ เบญจปักษี ว่าด้วย เกณฑ์ วัน ยาม และเวลาในการเคลื่อนพล ตำราดูนาค  และกฎเกณฑ์ในการตั้งทัพให้เหมาะกับจำนวนพล
       เล่มที่ 5  กล่าวถึงอธิไทยโพธิบาทว์ คือ อุบาทว์ 8 ประการและวิธีแก้ ตำราดูดี-ร้าย ดูราหู ดูฤกายายี นาคร ตำราเกณฑ์ทัพ ตรีเสนาและเบญจเสนา  
        เล่มที่ 6 กล่าวถึงเนาวพยัตติ ไม่มีในตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบรัดเลย์
       (โดยทั้งหมดชำระ ให้บริบรูณ์เทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบรัดเลย์ที่สุด)

       การศึกษาของ วสันต์ มหากาญจนะ (2542, สาระจากตำราพิไชยสงครามไทย :146-147) บอกว่า 
    1) ฉบับ น่าจะมีความหมายว่า เป็นชุด แต่ชุดหนึ่งควรจะมีตำราพิชัยสงครามจำนวนเท่าไหร่ยังเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย
     2) คำว่า ฉบับหนึ่ง ดังปรากฎอยู่ในหน้าต้นของตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 179  น่าจะมีความหมายเท่ากับ "ชุดหนึ่ง" ชุดหนึ่งมีตำราพิชัยสงคราม 5 เล่ม โดยพิจารณาจากตำราพิไชยสงครามฉบับหมอ    บรัดเลย์ ที่กล่าวไว้ว่า "รวมเป็นห้าเล่มสมุดไทย"
     
       การศึกษาของผู้เขียน
      
        ในขณะที่ผู้เขียนกำลัง เรียบเรียง "ตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์"  อยู่ ซึ่งได้มีการเปิดเผย เมื่อปลายปี 2551 จำนวน 2 เล่มสมุดไทย 
         จากการตรวจสอบ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอนโดยเทียบกับ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1
         1.1 มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ตรงกับ ตำราพิไชยสงคราม  ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 177 ทั้งเล่ม
         1.2 มีความ สมบูรณ์ถูก หน้าต้น  ส่วนหน้าปลาย ตรง 25 หน้า (ทั้งฉบับ 41 หน้า) กับ ตำราพิไชบสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 125 
             สิ่งที่ผิดพลาดเหมือนกัน คือ
             -กลยอนภูเขา  ตอนจบบทลงท้ายผิดเหมือนกัน และ ใน ตำราพิไชยสงคราม ฉบับ คำกลอน ที่กรมศิลปากร จัดพิมพ์ ในหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ ซึ่งเป็นฉบับใบลานของ เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) ผิดทุกฉบับ ตั้งแต่ ฉบับแรกพ.ศ.2469- ฉบับที เจ็ด พ.ศ.2512    
             สิ่งที่แตกต่างกัน 
             -ฉบับ เมืองเพชรบูรณ์ มีการลงท้ายจบ ฉบับ คำกลอนแบบโคลง สี่สุภาพ ซึ่งตำราพิไชยสงคราม ฉบับอื่น ๆ ยังไม่พบ 
              ยังมีส่วนที่ไม่ตรงกับฉบับ รัชกาลที่ 1 เลขที่ 125 คือ นิมิตและทำนายฝัน ซึ่งเป็นภาษาไทย-ขอม

             1.3 ส่วนที่เหลือ ของ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์  ตรงกับ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 181 หน้าต้นทั้งหมด  ส่วนหน้าปลาย ตรงกันถึงหน้า 6 (ทั้งหมด51 หน้า) ซึ่งจบฉบับเมืองเพชรบูรณ์  คำกลอนเพียงเท่านี้
                   สำหรับที่ไม่ตรงเป็นเรื่อง  ฤกษ์ ผานาที  สกุณานิมิต สัตว์ร้ายแสดงฤทธิ์ การตั้งทัพ เดินพล ตามฤกษ์
            และตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มกระบวนพยุหะ (แผนภาพ) เท่าที่ได้ตรวจสอบกับตำราพิไชยสงคราม ในหอสมุดแห่งชาติ ที่กลุ่มหนังสืือตัวเขียนและจารึก ตามบัญชีหมู่ ยุทธศาสตร์ มีทั้งหมด 217 เล่ม(มีหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะตำราพิไชยสงคราม)  ตรงกับ ฉบับรัชกาลที่ 2 เล่ม 1  และ ตรงกับ เล่มอื่น ๆ อีก 2 เล่ม เล่มแรก เป็นสมุดไทยขาว  ตัวอักษรดำ และอีกเล่ม ลงสีน้ำยา (ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

            *สรุปคือ ตำราพิไชยสงครามไทย ชุดที่ใช้จริงและตกทอดและสืบต่อกันมานั้น  มี 2  ตำรับ  ตำรับแรก 1 ชุด มี 5 เล่ม สมุดไทย ตามตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา (ฉบับหมอปรัดเล) หรือ เทียบเคียงชุดนี้  และ ตำรับที่ สอง เป็น ตำราพิไชยสงคราม  กระบวนพยุหะ (แผนภาพ) เท่าที่พบมี 1 เล่มสมุดไทย ซึ่งตรงกับ เล่มกระบวนพยุหะ (แผนภาพ) ของตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์




No comments: