Mar 16, 2012

ตำราพิไชยสงคราม รัชกาลที่ 2 เล่มว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ


ตอนที่เข้าไปศึกษา สมุดอักษรจารึกและตัวเขียนโบราณ  ที่สำนักหอสุดแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ที่ไปและที่มาของ ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์  ได้พบและอ่าน...
"สมุดแผนที่พิไชยสงครามยกใหม่"  บันทึกไว้ว่า  ตำราพิไชยสงคราม เล่ม ๑ ว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ  ชุบในสมัยรัชกาลที่ 2 

ภาพหน้าสมุด เป็นดังรูป ที่ผู้เขียนขอสำเนามา เป็นขาวดำ (เสียค่าบริการ) ต้นฉบับ ตัวอักษรสีทอง สวยงามมาก

ที่สะดุดตา มากสุด ..คือ ภาพข้างล่าง เป็ยลักษณะของชัยภูมิ ที่มีต้นไ้ม้ 3 ต้น ลำธาร และภูเขา พร้อม ช้างอีก 2 เชือก  ในหน้าแรกนี้ ไม่พบในฉบับเมืองเพชรบูรณ์  หรือ อีกฉบับที่เป็น "สมุดพิไชยสงคราม กระบวนพยุหะ"  ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ก็ไม่พบเช่นกัน สันนิษฐานว่า ฉบับรัชกาลที่ 2 ได้ชุบใหม่ตามต้นฉบับจริง เพราะที่เป็นฉบับคัดลอกไม่พบในเล่มอื่น ๆ


ส่วนที่กล่าวถึง พยุหะเช่น ปทุมพยุหะ ไม่ได้มี เป็นภาพ ทรงดอกบัว ปลายแหลมตามที่อ้างกันต่อ ๆ มาหลายเล่มในปัจจุบัน แต่ในตำราพิไชยสงครามมี แผนภาพที่แตกต่างออกไป




ส่วนอีกพยุหะ หนึ่งเป็นพยุหะหลักในการทำสงครามของชาวอินเดีย เรียกว่า "จักรพยุหะ"  ของไทยเรามีแผนภาพที่ ง่ายกว่า ของ ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ  ดังแผนภาพ แรกข้างล่าง



 ขณะที่ จักรพยุหะในมหากาพย์ มหาภารตะยุทธ  เป็นภาพสลักที่ นครวัด ในสมัยขอมโบราณ  เป็นรูปคล้าย ล้อรถศึก

                             (http://anu-photocollection.blogspot.com/2009/06/mahabharat-depicted-on-walls-of.html )

มีอีกแผนภาพพยุหะหนึ่ง ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ  ครุฑพยุหะ (แผนภาพครุฑพยุหะ)  แผนภาพแรก เป็นที่ผู้เขียนสำเนามา  ส่วนภาพที่ลงสี เป็นภาพที่มีเผยแพร่ในหนังสือหลายเล่ม เช่น การทหารของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หนังสือครุฑ และ หนังสือกระบวนพยุหะยาตราประวัติและพระราชพิธี เป็นต้น




ขณะเดียวกัน แต่ละภาพนี้เรียกกันว่าอย่างไร ตามที่ผู้เขียนได้อ่าน ตำราพิไชยสงครามจาก สมุดไทย ในสมัยโบราณมีเค้่าเงื่อนว่า เป็น ...แผนภาพกระบวนพยุหะ  เช่น แผนภาพปทุมพยุหะ  แผนภาพจักรพยุหะ
มากกว่าการเรียกชื่อแบบอื่น ๆ ครับ


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

No comments: