หากพูดถึง "กระบวนพยุหยาตรา" โดยเฉพาะทางสถลมารค ที่สามารถศึกษา รูปแบบว่าในโบราณราชประเพณีมีมาอย่างไร ต้นฉบับที่เป็นสมุดไทยขาว สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น เป็น "สมุดภาพจำลองมาจากวัดยมกรุงเก่า" (สมุดข่อยวัดยม ค้ดลอกในปี พ.ศ. 2440 ) ซึ่งคัดลอกมาจากจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดยม จ.พระนครศรีอยุธยา (วัดยมตามหลักฐาน สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปี พ.ศ. 2424
และอีกแห่งที่กล่าวถึงกันากคือ วัดประดู่ทรงธรรม หลักฐานที่ปรากฎนั้นบอกว่าวัดนี้สร้างในปี พ.ศ 2200 จิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพ กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค น่าจะเป็นภาพที่เขียนขึ้นมาก่อนจิตรกรรมวัดยม ด้วยหลักฐานของปี พ.ศ. ในการสร้างวัด ห่างกันพอสมควร และด้านข้างพระอุโบสถ ยังมีพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าทรงธรรม
... พระท่านเล่าว่า หน้าวัด ประมาณ 3-4 เมตร ในวัดก็ท่วมเข้ามาในโบสถ์ แต่แค่ บัว ก็คืบกว่า ๆ (คนโบราณ)
ส่วนจิตรกรรมฝาผนังไม่เสียหายจากน้ำท่วม แต่เลือนหายไปเพราะ กาลเวลา ฝนตก ชะให้เลือน หลังคาโบสถ์รั่ว .........
กลับมาที่กระบวนพยุหยาตรา ที่ฝาผนังทั้ง 2 ด้าน นั้น ภาพเขียนในลักษณะที่ เหล่ามัลลกษัตริย์ กรีฑาทัพ ด้วยจตุรงคโยธาหาญครบถ้วนด้วยศัตราวุธเต็มกระบวนศึก เพื่อมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า
จตุรงคเสนา นั้น มีพล 4 เหล่าคือ พลรบ พลช้าง พลม้าและ พลรถ แต่เนื่องด้วยตามหลักฐานการรบของไทย จะด้วยภูมิประเทศ หรือ เหตุผลอันใด ยากที่จะรู้ กองทัพไทยแต่โบราณไม่มีพลรถ (แม้ว่าในตำราพิไชยสงครามจะพูดถึงก็ตาม)
ในคัมภีร์เสนางคพยุหะ กล่าวว่า จักรพยุหะ ปทุมพยุหะ หะระตะพยุหะ และ สักตะพยุหะ ทั้ง 4 พยุหะ นี้มีในพระพุทธิฎีกาสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้เขียนอ่านพบใน ตำราพิไชยสงครามของพม่า ที่ รัชกาลที่1 มีดำรัสสั่งให้แปล เมื่อจุลศักราช 1160 (พ.ศ.2341) ว่าด้วยวิธีตั้งทัพ ดำเนินพล จนถึง ว่าด้วยที่ชัยภูมิ 4 ประการ
แต่ที่วัดประดู่ทรงธรรม คงไม่เห็นกระบวนพยุหะ ที่เต็มกระบวนทัพแบบสงคราม ภาพที่เราเห็นได้คือ พลรบ พลช้าง และ ม้าแซง อาจจะเป็นด้วย พระพุทธประวัติและ การรบของฮินดูโบราณนั้น ให้ความสำคัญกับ พลรบ พลช้าง และพลรถ มากกว่าพลม้า เพราะอินเดีย ไม่มีพันธุ์ม้าที่ดีเช่น ยุโรป และจีน พลม้าจึงไม่ได้อยู่ในแนวหน้าของการทำสงครามของอินเดีย หรือ ฮินดูโบราณ แต่ พลช้างจะเป็น หน่วยรบแนวหน้าที่สำคัญ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
No comments:
Post a Comment