Apr 18, 2012

ริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


มีอยู่วันหนึ่ง เดือน มี.ค.55 ไปบรรยายที่ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน รัชดา ฯ  บังเอิญพบภาพ กระบวนเรือสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (ริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคโดย   F.X. Habermann  พิมพ์ที่เมือง Ausburg ) รีบถ่ายรูปมาโดยพลัน



ข้อความเต็ม ...Vüe de Siam avec diverses Sortes des Ballons, ou Vaisseaux chinoises a rame. 
ลองให้กูเกิลแปลให้ (สำหรับสยามกับชนิดของบอลลูนหรือเรือจีนมีพาย)

ขณะที่ภาพนี้ บันทึก... กรุงศรีอยุธยาในเอกสารหลักฐานสเปน เรียบเรียง ระหว่าง ค.ศ. 1582-1596 กับเป็นรูปกลับด้านกัน (ในหนังสือ ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ฯ หน้า 68)
ยังมีอีกเป็นภาพพิมพ์  บอกเป็นภาพพิมพ์ โดยฟร็องซัวส์ ซาวเวียร์ อาเบอร์มันน์ จิตรกรชาวเยอรมัน(รูปตรงกัน) อันนี้ของแท้ต้นฉบับแน่นอน รูปดูได้ทางอินเตอร์เน็ท (เข้าใจว่าน่าจะมีลิขสิทธิ์)

น่าสนใจดี ทั้งกระบวนพยุหยาตรา และรูปที่แตกต่าง เหมือนกลับฟีลม์กัน
ไว้ค่อยมา อรรถาธิบาย เรื่องนี้อีกครั้ง เพราะ มักมีผู้กล่าวว่า   มี"ตำราพิไชยสงคราม" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ  แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือ พงศาวดาร บันทึกบ่งบอกสิ่งเหล่านี้ไว้

 ท่านคิดว่าผู้เขียนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย  ยกหัวแม่มือขึ้น-ลง


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Apr 10, 2012

รถศึก ในจตุรงคเสนา ขอว่าอีกครั้ง




         ในจตุรงคเสนามีพล 4 เหล่า พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า  ตามที่ผู้เขียนได้เกรินไปก่อนหน้านี้ว่า มีเค้าเงื่อนให้สงสัยว่า  พลรถ หรือ รถศึก ที่ว่า ในการทำสงครามสมัยโบราณ เราไม่มีรถศึก แต่มีเรือศึกเข้ามาแทน เพราะภูมิประเทศไม่เหมาะนั้น 

ผู้เขียนกลับคิดว่า เราีมี รถศึก ครงตามตำราพิไชยสงคราม ในจตุรงคเสนา  (อ่านได้ที่

รถพยุหะในตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 สำนักหอสมุดแ่ห่งชาติ)  


โดยผู้เขียนได้จำลอง แผนภาพ รถพยุหะจาก ตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 43 มาให้เห็นภาพของรถศึก ในสมัยก่อน 


                       




แต่ก็ยังอยากหาหลักฐานมายืนยันเพิ่มเติมอีก  ในคราวนี้มีข้อมูลเพิ่มสนับสนุนข้อสันนิษฐานของผู้เขียน


ประการแรก  หนังสือสมุทรโฆษ ที่สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์จนจบ  ในตอนจัดทัพพร้อมด้วยจตุรงคเสนา คือ  พลช้าง พลม้า  พลรถ และพลเดินเท้า อันเป็นกองทัพของพระสมุทรโฆษ พร้อมด้วยนางพินทุมดีเดินทางจากรมยบุรี ไปเยี่ยมพระเจ้าพินทุทัต ซึ่งเป็นพระชนกยังพรหมบุรี (พระธรรมโกศาจารย์,2507 ; พระเกียรติบางประการใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส หน้า 272-275) ทรงนิพนธ์ด้วย มาลินีฉันท์ดังนี้

                                                พลรถ
พลรถคณมากมวญ               เล็งพิลาสควร                   จะพิศวง
พลรถคณเทียมดุรงค์            งอนบรรเจิดธง                  สล้างสลอน
พลรถคณอลงกรณ์               แปรกและแอกงอน            ก็งามสรรพ                             
พลรถคณดิเรกระดับ             แก้วประกอบกับ                 กนกเนือง
พลรถคณมลังมเลือง            แลอร่ามเรือง                     จำรัสฉาย
พลรถคณเรียบราย                บนบัลลังก์นาย                  จำนำสถิต  
พลรถคณเรืองฤทธิ์               รอญปัจจามิตร                   พิราไลย
พลรถคณชาญชัย                 กุมลำแพนไกว                   และแกว่งกวัด
พลรถคณเทิดทัด                  ทวนประจำหัตถ์                 สง่าหาญ  
พลรถคณกุทัณฑ์ธาร             แผลงไพรินผลาญ             ก็กราดลาด
พลรถคณศรศาสตร               อุสุรดดาษ                         เผด็จอรี
พลรถคณสารถี                      ถือจรีคระวี                         คือกังหัน

ประการที่สอง  ผู้เขียนนึกถึง พุทธประวัติ ตอนที่กษัตริย์แคว้นต่าง ๆ และเหล่ามัลลกษัตริย์ไม่ยอม จึงส่งทั้งฑูตและยกกองทัพเต็มอัตราศึก จตุรงคเสนามาจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ และมีกษัตริย์แคว้นหนึ่งมาช้า ซึ่งน่าจะเป็น ภาพนี้ที่ จิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา


ประการต่อมา ในหนังสือ จิตรกรรมไทย ต้นแบบการฝึกเขียน ชุดที่ ๑ ของ ประสม สุสุทธิ (2527 ; อัดสำเนา) ซึ่งใช้ประกอบการสอน ในโครงการฝึกอบรม วิชา ศิลปรรมไทย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดเพชรบุรี   ลูกหลานครอบครัวสุสุทธิได้จัดหาและทำขึ้นเพราะีผู้สนใจกันมาก  ในคราวงานพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อประสม สุสุทธิ ช่างแทงหยวกเืมืองเพชรบุรี -ช่างแทงหยวกชั้นเทพ 2 พระเมรุ แห่งรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 27 มี.ค.55

หนังสือดังกล่าวมีภาพวาด ช้างศึก  ม้าศึก และ ราชรถศึก  ไว้ตามรูป




และประการที่สาม  เป็นความบังเอิญ เื่มื่อวันที่ 7 เม.ย.55 ผู้เขียนได้รับอนุญาตให้เข้าไปที่  หอประติมากรรมต้นแบบ  กรมศิลปากร เพื่อดูคณะช่างแทงหยวก เมืองเพชรบุรี (ลูก ๆ  หลาน ๆของ ครูประสม สุสุทธิ) ที่มาแทงหยวกประดับพระจิตกาธาน สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ  ได้พบเห็นภาพร่าง  รถศึก ดังรูป



          กับอีกส่วนหนึ่งเป็นภาพ รถหรือ เกวียนสมัยที่ใช้กันในอดีต ซึ่งจัดแสดงในงาน "พระนครคีรี-เืมืองเพชร ครั้งที่ 26  วันที่ 26  มี.ค.-6 เม.ย. 2555"





                      
ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า รูปแบบ รถ ดังกล่าวนี้ มีลักษณะที่เหมือน แผนภาพรถพยุหะ ตามตำราพิไชยสงคราม
ประการสุดท้าย  ในการจัดทัพของขอม  ซึ่งมีมีภาพจำหลักที่ นครวัด ได้ีการจำลองภาพรถศึกในสมัยนั้นซึ่งได้ต้นแบบมาจาก ฮินดูโบราณ  มีลักษณะรถศึกดังนี้ มี 3 รูปแบบด้วยกัน ตามรูปแรก  ส่วนรูปที่ 2 เป็น รูปด้านหน้ารถศึก  รูปที่ 3 เป็นรูปรถด้านข้าง  รูปที่ 4 คล้ายราชรถศึก   และรูปที่ 5  เป็นรูปนายทัพ นั่งอยู่บนรถศึก








โดยรวมแล้วผู้เขียนสามารถสรุปได้ว่า   รถศึก ของไทยเรา มีอยู่อย่างแน่นอนตามข้อมูลและการสันนิษฐานเพิ่มขึ้นดังนี้

1. ข้อมูลจาก พุทธประวัติ ที่วัดประดู่ทรงธรรม และสมุทรโฆษคำฉันท์ 
 มีภาพรถศึก(ราชรถศึก)  พร้อมทั้งคำบรรยาย  
2.ข้อมูลจากภาพจิตรกรรมไทย ส่วนใหญ่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องรามเกียร์ติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งวาดไว้ที่ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  มีภาพ  "ราชรถศึก" พร้อกับ รถ/เกวียน ที่แสดง  ณ พระนครคีรี จ.เพชรบุรี
3. ข้อมูลที่ นครวัด มีภาพรถศึก 3 รูปแบบ ที่สมบูรณ์มาก พร้อมทั้งแม่ทัพที่ขับรถศึก  พิจารณาได้จากภาพจำลองทั้ง 5 ภาพข้างต้น

น่าสนใจ ครับสำหรับ รถศึก หรือ พลรถ ซึ่งเป็นหนึ่งใน จตุรงคเสนา ที่ในการศึกษาก่อนหน้านี้ของนักประวัติศาสตร์ เรายังไม่มีข้อมูลมากนักในอดีต  แต่ปัจจุบันมีมากขึ้น จึงทำให้ได้คำตอบใหม่ในเรื่องนี้

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com