ความน่าสนใจและเสน่ห์ของ "ตำราพิไชยสงครามไทย" อยู่ที่ว่า มี "ศาสตร์และองค์ความรู้" ที่คนรุ่นหลังยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ทั้งหมด แ้ม้จนกระทั่งในปัจจุบันี้
ในระหว่างที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ "ตำราพิไชยสงครามไทย" มีคำถามเกิดขึ้้นมากมายโดยเฉพาะว่า "ใครคือผู้แต่งหรือรจนา" ในครั้งเริ่แรกของไทย และเขียนขึ้นได้อย่างไร
มีโคลงสีสุภาพ 2 บท ในตำราพิไชยสงคราม เล่มคำกลอน ซึ่งถือเป็นหัวใจทีเดียว หากได้มีการศึกษาอย่างลึกซึ้งจะไขปริศนา ที่ผู้เขียนถามไว้ข้างต้น
ตำราวรวากยไว้ วิถาร
พิไชยสงครามการ ศึกสิ้น
จงหาที่พิสดาร เติมต่อ
จงอย่าลืมกลสิ้น เล่ห์เลี้ยวจำความ
สมเด็จจักรพรรดิรู้ คัมภีร์
ชื้่่อว่า กามันทะกี กล่าวแก้
พิไชยสงครามศรี สูรราช
ยี่สิบเอ็ดกลแล้ เลิศให้เห็นกล
(ดร.ดนัย เทียนพุฒ ถอดความเป็นภาษาปัจจุบันโดยปรับปรุงใหม่ จากต้นฉบับสมุดไทย ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ ณ. ก.พ.2555)
ผลการศึกษาล่าสุดของผู้เขียน พบว่า
1. ไทยเรามีตำราพิไชยสงคราม ใช้ก่อน ที่จะมีการรวบรวมจัดทำเป็นฉบับแรก ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ปี พ.ศ.2041
2. ตำราพิไชยสงคราม ฉบับที่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ..แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม นั้นพระองค์ทรงรจนาและแก้จาก มา จาก ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ ชื่อว่า "กามันทะกียะ"
3.ผู้แต่ง ตำราพิไชยสงคราม ฉบับแรก ที่ในโคลงสี่สุภาพ ระบุไว้ว่า
"สมเด็จจักรพรรดิรู้ คัมภีร์" .... ในที่นี้คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
4.และตำราพิไชยสงครามไทยก่อน สมัยสมเด็จพระรามธิบดีที่ 2 มีเค้าเงื่่อนว่า รากแนวคิดของพิไชยสงคราม น่าจะมาจาก มหากาพย์..."มหาภารตะยุทธ"
และในตำราพิไชยสงคราม ฉบับเืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอน หน้าต้น สมุดไทยขาว เขียน โคลงกระทู้ (1คำ) ไว้ว่า
พิ เคราะห์การศึกใช้ โดยขบวน
ไชยะ สฤดีทั้งมวล ท่านไว้
สง สัยสิ่งใดควร คิดร่ำเรียนนา
คราม ศึกกลศึกให้ ถ่องแท้หรือไทยหวัง
(ดร.ดนัย เทียนพุฒ ถอดเป็นภาษาปัจจุบัน โดยปรับปรุงใหม่ จากต้นฉบับสมุดไทย ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ ณ. ก.พ.2555)
แสดงให้เห็นถึง การชี้ชวนให้ศึกษาให้เข้าใจ ยิ่งสงสัยยิ่งต้องร่ำเรียน
(*อ้างอิงจาก ดร.ดนัย เทียนพุฒ, 2555 : ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ -ต้นฉบับอัดสำเนา)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
No comments:
Post a Comment