เจาะภูมิปัญญาไทย (2) ใครรจนาตำราพิชัยสงคราม หรือใครแต่งกันแน่!
สิ่งที่่ผู้เขียนสงสัยมานานว่าตำราพิชัยสงครามของไทยนั้นใครรจนาขึ้้น หรือ ใครแต่งกันแน่ และแต่งขึ้นในสมัยใด เพราะเท่าที่ปรากฎหลักฐานอ้างต่อ ๅ กันมาว่า
"ศักราช 860 ปีมะเมีย สัมฤทธิศก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม และแรกทำสารบัญชี"(อ้างจาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา -ฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ครั้งที่ 2 2549 )
และในเล่มอื่น ๆ อีกหลายเล่มก็อ้างเช่นนี้
ผู้เขียนเอง มีข้อสันนิษฐานในหลาย ๆ เรื่องที่ชวนแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ต้นกำเหนิดที่แท้จริงของตำราพิชัยสงครามไทย
หากเปิดดูตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ หรือ ในตำราพิชัยสงครามฉบับรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 และฉบับของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ จะมีความแตกต่างในเรื่องการถอดเป็นภาษาปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญ แต่ปราชญ์และผู้รู้ทางประวัติศาสตร์อาจจะมองข้ามไป หรือไม่มีเครืองมือสืบค้นดังเช่นในปัจจุบันที่สามารถค้นทางอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วดังใจนึก
สิ่งที่ควรพิจารณาในการศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ หรือ ฉบับก่อนหน้านี้
1)ในตำราพิไชยสงคราม คำกลอน ฉบับรัชกาลที่ 1
ตำราวรวากยไว้ วิถาร
พิไชยสงครามการ ศึกสิ้น
จงหาที่พิศฎาร เติมต่อ
จงอย่าฟังกลสิ้น เล่หเลี้ยวจำความ
สมเดจ็จักระพรรดิรู้ คำภีร
ชื่อว่านามกามมนทกี กลา่่่่่่่ ่วแก้
พิไชยสงครามศรี สูรราช
ญี่สิบเบดกลแล้ เลิศให้เหนกล
ถอดความโดยกรมศิลปากร
ตำราวรวากยไว้ วิถาร
พิชัยสงครามการ ศึกสิ้น
จงหาที่พิสดาร เติมต่อ
จงอย่าฟังกลสิ้น เล่ห์เลี้ยวจำความ
สมเด็จจักรพรรดิรู้ ศัมภีร์
ชื่อว่านามกามมนทกี กล่าวแก้
พิชัยสงครามศรี สูรราช
ยี่สิบเบ็ดกลแล้ เลิศให้เห็นกล
2) ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน ของกรมศิลปากร (ฉบับรัชกาลที่ 3) และจากตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ถอดความแล้ว
ตำราวรวากไว้ วิถาน
พิไชยสงครามการ ศึกสิ้น
จงหาที่พิศฎาร เติมต่อ
จงอย่าฟังกลสิ้น เล่ห์เลี้ยวจำความ
สมเด็จจักรพรรดิรู้ ศัมภีร์
ชื่อว่านามกามมนทกี กล่าวแก้
พิชัยสงครามศรี สูรราช
ยี่สิบเบ็ดกลแล้ เลิศให้เห็นกล
3) ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ตามภาพข้างบน
ตำราวรวากยใว วิฺฺถาร
พิไชยสงครามการ ศึกสิ้น
จงหาที่อพิศะฎาร เตืมต"อ
จงอย่าลืมกลสิน เล่หเลียวจำความ
สมเดจ็จักระพัรรดิรู้ คัมภีร์
ชืว่ากามมนทะกี กล่าวแก
พิใชยสงครามศรี สูรราช
ญี้สิบเบ็ดกนแล เลืศให้เหนกล (สะกดตามต้นฉบับเดิม)
ถอดความโดยผู้เขียน(ดร.ดนัย เทียนพุฒ)
ตำราวรวากยไว้ วิถาร
พิชัยสงคราม ศึกสิ้น
จงหาที่พิสดาร เติมต่อ
จงอย่าลืมกลสิ้น เล่ห์เลี้ยวจำความ
สมเด็จจักรพรรดิรู้ คัมภีร์
ชื่อว่ากามันทกี กล่าวแก้
พิชัยสงครามศรี สูรราช
ยี่สิบเบ็ดกลแล้ เลิศให้เห็นกล
ข้อสันนิษฐานโดยผู้เขียน
ประการแรก ตำราพิชัยสงครามฉบับแรกใครเป็นผู้ทำและเริ่มทำเมื่อใด หรือเป็นตามที่เข้าใจกันว่าเริ่มทำครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
1.1 ถ้าจะว่ากันตามแบบแผนของโคลงสี่สุภาพ ปกติแล้วโคลงบทสุดท้ายจะบอกไว้ว่าใครเป็นผู้แต่งหรือผู้ประพันธ์
ดังนั้นตามบทของโคลงสี่สุภาพที่ยกมาจากตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์
จะพบว่า "สมเด็จจักรพรรดิ์" แต่งโดยการแก้ฉบับของ "กามันทกี" และแก้ไขมาเป็น กลศึก 21 กลศึก
การสันนิษฐานตรงนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะไม่ปรากฎว่ามีใครเคยเสนอ หรือ ทำมาก่อน
ทำไมผู้เขียนจึงสันนิษฐานเช่นนั้น
(1) ชื่อกามันทกี ที่ผู้เขียนถอดความมาจากคำว่า กามมนทะกี หรือ กามมนทกี โดยที่ยังไม่ปรากฎคำนี้ในฉบับถอดความของฉบับใดมาก่อน
เพราะหากถอดเป็นกามมนทกี ไม่ได้สื่อความหมายใด ๆ และไม่สามารถหาความหมายได้
แต่ถ้าใช้ คำว่า กามันทกี จะมีความหมายที่หมายถึง ชื่อนครโบราณของอินเดียตอนใต้
ซึ่งใน นิทานเวตาลเรื่องที่ 3 ได้ระบุชื่อเมืองนี้ไว้ว่ามีอยู่ทางอินเดียตอนใต้
(2) ชื่อของนครโบราณของอินเดียตอนใต้เกี่ยวข้องอะไรกับตำราพิชัยสงครามไทย
ด้วยเหตุที่ว่า อักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นมาใช้นั้นดังปรากฎในหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย และผู้เชี่ยวชาญทางภาษาโบราณของกรมศิลปากร ได้ศึกษาว่า มีการดัดแปลงมาจาก อักษรอินเดียตอนใต้
(3) ผู้แต่งคือ สมเด็จจักรพรรดิ์ และจะหมายถึงพระมหากษัตริย์องค์ใดของไทยที่แต่งตำราพิชัยสงครามในสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
นี่เป็นข้อสันนิษฐานแรกที่ได้จาก ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์
1.2 ที่ว่า " แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม" ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หมายความว่าอย่างไร
ความหมายนี้ หมายความว่าเป็นการทำตำราพิชัยสงครามเล่มแรกของเมืองไทยใช่หรือไม่ หรือ มีนัยเป็นอย่างอื่น
ผู้เขียนคิดว่าเป็นการท้าทายความรู้ทางด้านยุทธศาสตร์ไทยโบราณ และบรรดาความรู้ในเรื่องตำราพิชัยสงครามเป็นอย่างยิ่ง ที่คนไทยเราจะได้ศึกษาและทำให้เกิดความกระจ่างชัดขึ้นมา
ประการที่สอง ตำราพิชัยสงครามก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น
ความจริงในเรื่องตำราพิชัยสงครามตามที่ผู้เขียนสนใจมักจะได้มาจากการศึกษาในตำราเก่าทางด้านกลยุทธ หรือ ยุทธศาสตร์ พร้อมกับการได้รับความอนุเคราะห์ หรือผู้ที่รู้จักให้การสนับสนุนจึงได้มีโอกาสหยิบยืมมาศึกษา หรืออาจเป็นความบังเอิญที่ไปเจอเข้าพอดีด้วยความที่สนใจและชอบอ่านหนังสือ
(1) ร่องรอย เริ่มแรกของหลักฐานเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม ผู้เขียนได้มีโอกาสไปไหว้พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัด ลำปางและ บังเอิญได้อ่านประวัติพระนางจามเทวีพบข้อความที่ตื่นเต้น คือ พระนางจามเทวีทรงเรียนรู้ตำราพิชัยสงคราวตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และมีพระพี่เลี้ยงสอนตำราพิชัยสงครามให้ด้วยซึ่งเป็นพระธิดาของเจ้าเมืองรัตนปุระ
หลักฐานนี้บอกอะไร
-อย่างแรก พระนางจามเทวีเรียนตำราพิชัยสงครามอะไร และจากใคร
" ข้อมูลประวัติพระนางจามเทวี...
เรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวถึง “พระนางจามเทวี” และ “นครหริภุญไชย” นั้นปรากฏอยู่ในตำนานต่างๆ หลายเล่ม อาทิ จามเทวีวงศ์ ทีแต่งโดยพระมหาเถราจารย์นามว่า “พระโพธิรังษี” ตำนานมูลศาสนา ตำนายไฟบ้างกัปป์ และชินกาลมาลีปกรณ์ ฯลฯ
กำเนิดของ “พระนางจามเทวี” มีปรากฏในเอกสานดังที่ยกมา กล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่งนามว่า “อินตา” (ไม่ปรากฏนามมารดา) ได้มีการบันทึกดวงพระชะตาของพระนางจามเทวี เมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ.1176 เวลาจวนจะค่ำ เมื่อยังทรงพระเยาว์มีเรื่องเล่าว่า
วันหนึ่งเมื่อยังทรงพระชนมายุได้ 3 เดือน กำลังประทับนอนบนเบาะ พญานกใหญ่ได้บินเข้าไปจกพระวรกายถึงในบ้านพาขึ้นไปบนท้องฟ้า พอดีกับท่านสุเทวฤาษีแห่งระมิงค์นครกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ ณ อุจฉุตบรรพต ได้เห็นพญานกบินผ่านและเห็นกรงเล็บของมันได้จิกร่างทารกน้อยมาด้วย ท่านฤาษีจึงได้แผ่นเมตตาให้พญานกปล่อยพระนางเสีย พญานกจึงคลายกรงเล็บให้เด็กนั้นร่วงลง แต่ก่อนที่ร่างของพระนางจะตกถึงพื้นก็เกิดมีลมหอบพาไปตกในสระใหญ่ โดยมีดอกบัวหลวงขนาดมหึมารองรับ บังเกิดความปลอดภัยโดยปาฏิหาริย์
ท่านฤาษีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สามารถใช้มื้ออุ้มร่างเด็กหญิงขึ้นมาได้ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า “หากทารกหญิงผู้นี้มีบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้าแล้วก็ขอให้พัดของเรานี้รองรับร่างเธอไว้ได้โดยมิ ร่วงหล่นเถิด” จากนั้นท่านก็ใช้พัดช้อนร่างพระนางขึ้นมาได้จริงๆ และด้วยเหตุที่ท่านได้ใช้พัดช้อนทารกขึ้นมานี้จึงได้ตั้งชื่อเด็กหญิงว่า “วี” และได้มอบให้พญาวานรชื่อกากะวานรและบริวารรวม 35 ตัวช่วยเลี้ยงดู ทั้งยังได้สอนศิลปวิทยากรต่างๆ รวมทั้งวิชาฝ่ายบุรุษ เช่นการพิชัยสงครามและการต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ ซึ่งพระนางก็เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีพระสติปัญญาดีเยี่ยม (อ้างจาก http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=794.0)
กำเนิดของ “พระนางจามเทวี” มีปรากฏในเอกสานดังที่ยกมา กล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่งนามว่า “อินตา” (ไม่ปรากฏนามมารดา) ได้มีการบันทึกดวงพระชะตาของพระนางจามเทวี เมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ.1176 เวลาจวนจะค่ำ เมื่อยังทรงพระเยาว์มีเรื่องเล่าว่า
วันหนึ่งเมื่อยังทรงพระชนมายุได้ 3 เดือน กำลังประทับนอนบนเบาะ พญานกใหญ่ได้บินเข้าไปจกพระวรกายถึงในบ้านพาขึ้นไปบนท้องฟ้า พอดีกับท่านสุเทวฤาษีแห่งระมิงค์นครกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ ณ อุจฉุตบรรพต ได้เห็นพญานกบินผ่านและเห็นกรงเล็บของมันได้จิกร่างทารกน้อยมาด้วย ท่านฤาษีจึงได้แผ่นเมตตาให้พญานกปล่อยพระนางเสีย พญานกจึงคลายกรงเล็บให้เด็กนั้นร่วงลง แต่ก่อนที่ร่างของพระนางจะตกถึงพื้นก็เกิดมีลมหอบพาไปตกในสระใหญ่ โดยมีดอกบัวหลวงขนาดมหึมารองรับ บังเกิดความปลอดภัยโดยปาฏิหาริย์
ท่านฤาษีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สามารถใช้มื้ออุ้มร่างเด็กหญิงขึ้นมาได้ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า “หากทารกหญิงผู้นี้มีบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้าแล้วก็ขอให้พัดของเรานี้รองรับร่างเธอไว้ได้โดยมิ ร่วงหล่นเถิด” จากนั้นท่านก็ใช้พัดช้อนร่างพระนางขึ้นมาได้จริงๆ และด้วยเหตุที่ท่านได้ใช้พัดช้อนทารกขึ้นมานี้จึงได้ตั้งชื่อเด็กหญิงว่า “วี” และได้มอบให้พญาวานรชื่อกากะวานรและบริวารรวม 35 ตัวช่วยเลี้ยงดู ทั้งยังได้สอนศิลปวิทยากรต่างๆ รวมทั้งวิชาฝ่ายบุรุษ เช่นการพิชัยสงครามและการต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ ซึ่งพระนางก็เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีพระสติปัญญาดีเยี่ยม (อ้างจาก http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=794.0)
ต่อมา.......ภายหลังพระราชพิธีอภิเษก พระเจ้ากรุงละโว้ได้พระราชทานพระธิดาในพระเจ้าทศราชแห่งกรุงรัตนปุระ ๒ พระองค์ คือ เจ้าหญิงปทุมวดี และ เจ้าหญิงเกษวดี ให้เป็นพระพี่เลี้ยงคอยถวายการดูแลพระธิดาพระองค์ใหม่ รวมทั้งเป็นผู้ถวายการสอนวิชาศิลปะศาสตร์แขนงต่างๆ เพิ่มเติมแก่พระธิดาน้อยด้วย(http://blog.eduzones.com/tambralinga/3774) "
(1) ท่านสุเทวฤษี ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งน่าจะเป็นตำราพิชัยสงครามของอินเดีย หรือ ฮินดูโบราณ
และพระธิดาพี่เลี้ยงซึ่งมาจากเมือง รัตนปุระ หรือ อาณาจักรนครศรีธรรมราช ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจาก ขอม หรือ ไม่ก็อินเดียเพราะ ความรุ่งเรืองของอินเดียได้เข้ามาสู่ขอมตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และอิทธิพลของขอม ก็มียุครุ่งเรือง อีกยุคคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อนที่จะเสื่อมถอยจน ชาวสยามสามารถขับไล่ขอมออกไป แล้วตั้งอาณาจักรสุโขทัยให้เติบใหญ่เข้ามามีอำนาจแทน
(2) ตำราพิชัยสงครามของอินเดียที่เป็น มหากาพย์ 2 เรื่องดั้งเดิม คือ 1. รามายะณะ ( ฤาษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤตเมื่อ 2,400 ปี เศษ และเป็นเค้าเรื่อง รามเกียรติ์ ที่รัชกาลที่ 1 ไ ด้ ทรงนิพนธ์ไว้ และมีเขียนอยู่รอบระเบียงวัดพระแก้ว (แต่เรื่องราวเป็นวิถีชีวิตคนไทยจนเราเข้าใจว่าเกิดขึ้นในบ้านเราโดยแทบไม่มีเค้าเดิมของอินเดียเลย) และ 2.มหาภารตะ (รจนา ไว้เป็นโศลก หนึ่งแสนโศลก ที่เรารู้จักเช่น ภควัตคีตา )
(จะได้แสดงเค้าเงื่อนในเรื่องนี้ต่อไป)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
No comments:
Post a Comment