Dec 2, 2011

ตำราพิชัยสงคราม : War Strategy


ตำราพิชัยสงคราม (War Strategy)
เป็นตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึกในสงคราม ซึ่งนักปราชญ์ทางทหารสมัยโบราณ ได้แต่งขึ้นจากประสบการณ์ และจากการทดลอง เพื่อให้แม่ทัพนายกองใช้ศึกษา และเป็นคู่มือในการอำนวยการรบให้หน่วยทหารมีชัยชนะแก่ข้าศึกประเทศต่าง ๆ
มีตำราพิชัยสงครามเท่าที่หาได้ในปัจจุบันคือ
1. ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ นายร้อยเอกยีอี เยรินีนายทหารชาวอิตาลี ภายหลังได้เป็นนายพันเอกพระสารสาสน์พลขันธ์ ได้เรียบเรียงตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณขึ้น อ้างว่าเก่าแก่มีอายุถึง ๒,๕๐๐ ปี คือ คัมภีร์ นีติศาสตร์ไม่ทราบผู้แต่งกับคัมภีร์นิติประกาศิกา แต่งโดยไวคัมปายัน อาจารย์สอนวิชาทหารกรุงตักสิลา และได้นำเรื่องราวจากเรื่องนางนพมาศ ราชาธิราชและพระราชพงศาวดารมาอธิบายประกอบ หน้า ๑๓๒๓๗
2. ตำราพิชัยสงครามจีน นักปราชญ์จีนได้แต่งตำราพิชัยสงครามไว้ในสมัยต่าง ๆ มากมาย ที่ยังมีต้นฉบับครบถ้วนรวมเจ็ดฉบับ แต่ที่สำคัญและดีเด่นมีอยู่สองฉบับคือ ตำราพิชัยของซุนวู หรือตำราพิชัยสงครามสิบสามบท แต่งขึ้นปี พ.ศ.๔๓ เป็นปรัชญาในการป้องกันประเทศ และรวมเอาวิถีการดำรงชีวิตในชั้นเชิงที่แยบคาย ซึ่งไม่มีในตำราอื่น ๆ จึงถือกันว่าเป็นตำราพิชัยสงครามที่สมบูรณ์ยอดเยี่ยมที่สุด โดยได้กล่าวถึงการวางแผนสงคราม การดำเนินสงคราม ยุทโธบาย ความตื้นลึกหนาบาง การสัปยุทธ์ชิงชัย นานาวิการ การเดินทัพ ลักษณะพื้นภูมิ นวภูมิ พิฆาติด้วยเพลิงและการใช้จารกรรม
3. ตำราพิชัยสงครามพม่า มีอยู่สองฉบับในหอสมุดแห่งชาติแปลเป็นภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๑ เนื้อหามีเรื่องการจัดบ้านเมืองให้พร้อมรบ สาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข และเกิดยุคเข็ญ สาเหตุที่จะเกิดสงคราม การหาข่าวข้าศึก บุคคลและตระกูลที่หายาก ลักษณะของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพ ลักษณะที่จะชนะสงคราม การจัดขบวนรุก ตั้งรับและถอย ฤกษ์ยามต่าง ๆ ในสงคราม
4. ตำราพิชัยสงครามไทย พระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๑ สมเด็จพระรามาธิบดี ๒ (พ.ศ.๒๐๔๑ - ๒๐๗๒) "แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม" โดยโปรดให้นำเอาตำราพิชัยสงคราม ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับมาชำระ และเรียบเรียงให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นหมู่เหล่า แล้วคัดเป็นฉบับหลวง ครั้นกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง ต้นฉบับที่มีบริบูรณ์เช่นฉบับหอหลวง ก็เลยสูญเหลือแต่ฉบับที่มีผู้คัดลอกไว้ได้แห่งละเล็กละน้อย มักเป็นตำราที่แต่งใหม่ในปลายสมัยอยุธยาเป็นพื้น
สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่หนึ่งและที่สอง ได้มีการคัดลอกตำราพิชัยสงครามฉบับปลีกของปลายสมัยอยุธยาซึ่งเหลืออยู่ได้หลายสิบเล่มสมุดไทย โดยยังคงรักษาคำร้อยกรองของเดิมไว้ครบถ้วน
ในปี พ.ศ.๒๓๖๘ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังสถานมงคลได้ให้ชำระตำราพิชัยสงครามให้ถูกต้องครบถ้วน ได้เชิญพระตำรับพิชัยสงครามจากข้างที่ (ฉบับหลวง) มาชำระสอบสวนถึง ๑๔ เล่มสมุดไทย เมื่อชำระเสร็จแล้วได้คัดลงสมุดไทยได้สิบเล่ม (สองชุด) ถือเป็นตำราพิชัยสงครามฉบับสุดท้ายที่ชำระอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชกาลที่สี่ ได้ทรงเริ่มปฏิรูปกองทัพไทยเข้าสู่แบบตะวันตก
ในรัชกาลที่ห้า ทางการทหารได้ใช้ตำรายุทธศาสตร์แทนตำราพิชัยสงคราม ผู้เป็นเจ้าของตำราพิชัยสงคราม จึงนำมามอบให้ หรือขายให้หอสมุดแห่งชาติ เป็นจำนวนมาก ตามบัญชีมีอยู่ ๒๑๙ เล่ม ส่วนมากเป็นคำร้อยกรองแบบฉันท์ โคลง กลอน และร่ายบ้าง แต่งเป็นคำร้อยแก้วบ้าง
เมื่อดูจากตำราเดิมจะแบ่งออกเป็นสามแผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งสงครามว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ส่วนการถือนิมิตฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณมาเชื่อถือแก่กล้าขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา หน้า ๑๓๒๓๗
อ้างจาก 1. สารานุกรมไทย หอมรดกไทย







รูปหนังสือ จาก ห้องพันทิพย์ http://olddreamz.com/bookshelf/sunwu/pantipwb.htm




ยุทธวิธีพิชัยสงครามแบบใหม่เมื่อคราวสงครามเก้าทัพกรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๓๒๕ - พุทธศักราช ๒๔๗๕

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกหลวงสวัสดิสรยุทธ(ดล บุนนาค) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม แจกในปี ๒๕๑๒
ข้อมูล (คุณ : แสนอักษร )
รูปปกหนังสือ (คุณ : supit_p)









ตำราพิไชยสงครามฉบับรัชกาลที่ ๑ ของกรมศิลปากร
รูปปก (คุณ : supit_p)

ในตำราพิไชยสงคราม จ.ศ. ๑๑๔๔ ว่าด้วยเนาวพยัตติผู้รู้ ผู้เฉลียวฉลาด ๙ ประเภท
ยังมีเรื่องราว นางคลาโดนตัดนมพระยาปุกามส่งนางคลา พระธิดาไปให้พระยาสะเทิม สมิงมนูหอร ผู้มีศักดานุภาพนางก็ดำเนินกลอุบายทำลายสง่าของพระยาสะเทิมเสียเรื่องราวนั้นสนุกสนาน ภาษาไพเราะงาม แสดงความกตัญญูต่อเจ้า สมิงปราบใหญ่ ก่อนจะโดนฆ่าด้วยอุบายของศัตรู ออกปากว่า"เราจะได้มีความผิดสิ่งใดปรากฏแก่เรา เหตุวิบากแห่งสัตว์ทั้งหลายจึ่งเกิดภัยแก่เราดั่งนี้ถ้าเราตายแล้วไซร้ให้เอาเศียรแห่งเราไว้กลางเมือง แลหัตถ์บาทแห่งเรานี้ไว้ประตูทั้ง ๔ นั้นแลศัตรูจะปีนเข้าเมืองมาและจะทำร้ายนั้นมิได้"


ต้นฉบับตำราพิไชยสงครามเล่มนี้ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนจนจบทั้งเล่มเขียนด้วยเส้นทอง ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสวยราชสมบัติ และสถาปนากรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีผู้ชุบ(ใช้พู่กันจุ่มหมึก สี หรือกาวเขียนอักษร) คือ นายบุญคง อาลักษณผู้ทานคือ ขุนสาระประเสริฐ และ นายชำนาญอักษร
(ข้อมูลจาก คุณแสนอักษร)




ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน
รูปปก (คุณ :supit_p)

No comments: