Dec 2, 2011

ตำราพิชัยสงคราม :บทวิเ คราะห์ ฉบับ จ.เพชรบูรณ์ (4) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


การวิเคราะห์ตำราพิชัยสงคราม ผู้เขียนมีเจตนาศึกษาด้าน กลยุทธ เป็นหลักไ ม่ได้มีเหตุผลอื่นใดนอกจากวิชาการและก็ไม่ได้ประสงค์จะไปพิสูจน์ว่าเป็นของจริงหรือไม่ แ ต่เพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญโดยเฉพาะ"ประวัติศาสตร์ทางกลยุทธไทย"

บทวิเคราะห์
             ....ล่าสุดได้มีการค้นพบตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงธนบุรีในสภาพสมบูรณ์มากจำนวน 5 เล่ม ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 (อ้างจาก วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/ตำรพิชัยสงคราม ค้นหาเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.51).....


ข้อความช้างต้นไม่น่าจะถูกต้อง เพราะในสมัยกรุงธนบุรี ไม่มีหลักฐานบันทึกถึงการเขียนตำราพิชัยสงคราใด ๆ เลย ดังเช่น
 ...ในเรื่องนี้ พลโทดำเนิร เลขะกุล ได้เขียนเอาไว้ในบทความเรื่อง "ตำราพิชัยสงคราม" ว่า
      เคยถามกรรมการชำระประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีว่า ถ้าในขณะนั้นไมีมีตำราพิชัยสงครามให้ศึกษแล้วทำไมสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชจึงทรงเก่งในการทำสงครามทั้งทางบกและทางเรือนัก ทรงศึกษาจากตำราอะไร ได้รับคำตอบว่า ทรงศึกษาจากหนังสือสามก๊ก เพราะในสมัยนั้นชาวจีนได้นำหนังสือสามก๊กเข้ามาเมืองไทยแล้ว และชาวจีนมัยก่อนถือว่าหนังสือสามก๊กเป็นตำราพิชัยสงคราม ก็ฟังเข้าทีอยู่  (ประยุกต์ บุนนาค, 2548: พิชัยสงครามฮินดูโบราณ หน้า197-198)

....ตำราพิชัยสงคราม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกี่ฉบับ
   ด้วยตำราพิชัยสงคราม ในหอสมุดแห่งชาติมีอยู่มากที่สุดจำนวน 219 เล่มสมุดไทย เป็นตำราพิชัยสงครามไทย ทั้งสมุด สมุดไทยดำ และไทยขาว  และเอกสารฉบับปลึก แต่ไม่ครบชุดและไม่สามารถจัดเรียงลำดับเนื้อหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ประกอบกับความรู้และึความเข้าใจในเรื่อง ตำราพิขัยสงครามเสื่อมทรามลงทุกวัน (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,  2512 อ้างจาก ตำราพิไชยสงครม ของกรมศิปากร ) มาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว แม้ว่าจะมีการตรวจชำระครั้งใหญ่ใน รัชลที่ 4 ก็

    1.ตำราพิชัยสงคราม  ฉ.รัชกาล ที่ 1(พิพม์เ ผยแพร่ชำระใ หม่เ ป็นฉบับร่วมสมัยมีคำอธิบาย 2545)
        มีจำนวน 6 เล่ม เลขที่ 177 125 122 181 118 และ 184 จากเอกสารหมวดยุทธศาสตร์ หอมุดแห่งชาติ เป็นฉบับที่เขียนขึ้นใน ร. 1 มีเนื้อาเรื่องราวต่อเนื่องกัน และถือได้ว่าเป็นต้นบับ ที่คัดลอกมาเป็นฉบับหลวง มีอาลักษณ์เป็นผู้ชุบเส้นตัวอักษร และมีอาลักษณ์ชั้นผู้ใหญ่ตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งด้วย
        เล่มที่ 1 ว่าด้วยบทอาศิรวาท แล้วกล่าวถึงความสำคัญของตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์เกี่ยวกับการศึกสงคราม กลศึก 21กล นิมิตดี-ร้ายต่าง ๆ ลมที่พัดในร่างกาย และคำอธิบายกลศึกต่างๆ 

        เล่มที่ 2 ว่าด้วยกลศึกต่อจากเล่มแรก  ต่อด้วกลวิธีใการเคลื่อนพล ฤกษ์นาคร และยายี วิธีเล่นชัยภูมิ นิมิตบอกเหตุ  แลลักษณะความฝันที่เป็นนิมิตมงคล
        เล่มที่ 3 กลวิธีในการเคลื่อนพล การจัดทัพเป็นรูกระบวนต่างๆ เช่น กรศพยู๋ห์ ครุฑพยู่ห์  ตำราดูนิมิต มีภาพสีนำ้ยาลักษณะของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวหา ราศีต่าง ๆ
   
        เล่มที่ 4 การจัดทัพเป็นรูปกระบวนต่าง ๆ มหาทักษาพยากรณ์ว่าด้วยการทำนายนามเมือง นมเสนาบดี เพื่อคัเลือพลที่เป็นนามมคลเข้ากงทัพ วันและฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ เบญจปักษี ว่าด้วย เกณฑ์ วัน ยาม และเวลาในการเคลื่อนพล ตำราดูนาค  และกฎเกณฑ์ในการตั้งทัพให้เหมาะกับจำนวนพล
        เล่มที่ 5  กล่าวถึงอธิไทยโพธิบาทว์ คือ อุบาทว์ 8 ประการและวิธีแก้ ตำราดูดี-ร้าย ดูราหู ดูฤกายายี นาคร ตำราเกณฑ์ทัพ ตรีเสนาและเบญจเสนา  

        เล่มที่ 6 กล่าวถึงเนาวพยัตติ
       (โดยทั้งหมดชำระ ให้บริบรูณ์เทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบัดเลย์ที่สุด)
         
     2. ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 2  เล่ม 2
        ว่าด้วยกลปล้นแ ละเ มืองจัดทัพ  นามขุนพล เ บญจปักษี การพิจารณาสัตว์ฝ่ายซ้ายขวาแ ละนิมิตต่าง ๆ การตั้งทัพ  ตั้งค่าย การจัดทัพแบบเบญจเสนา นามสัตว์ตามทิศต่างๆ การตั้งค่ายตามชัยภูมิ
 ***   3.ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3
      " ฉบับพระบวระพิไชยสงคราม ตำรับไญย ชำระในรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เ ริ่ม ทำใ นจุลศักราช 1187(พ.ศ.2368)   จนสำเ ร็จไ ด้ คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง ไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง"
        สมเ ด็จฯ กรมพราะยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า.. ปัจจุบันเป็นหนังสืกว่า 10 เล่มสมุดไทย เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแห่งใดที่จะบริบรูณ์ครบจำนวนสักแห่งเดียว  แบ่งได้เป็น 3 แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี  การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ...ตำราการรบพุ่งและอุบายสงครามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่งเป็นกลอน
      
 จึงมักเรียกกันว่า"ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน"  มาตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 แล้ว
    4. ตำราพิชัยสงคราม ฉ. รัชกาลที่ 4 
       มีจำนวน 2 เ รื่อง คือ ว่าด้วยการทักษาพยากรณ์แ ละสวัสดิรักษา และ ว่าด้วยการยาตราทัพ
    5. ตำราพิชัยสงคร ฉบับ หมอบัดเ ลย์
       มีจำนวน 5 เ ล่มสมุดไทย พิมพ์ ใน พ.ศ. 2425 (รัชกาลที่ 5) โดย ลอกมาจากฉบับของหลวงพิไ ชยเสนา
      ซึ่งในรัชกาลที่ 5 นี้ ได้มีการจัดการทหารแบบยุโรป จึงใช้ตำรายุทธศาสตร์ แทน ตำราพิชัยสงคราม ทำให้ หมดความสำคัญและขาดการศึกษาค้นคว้าไปในที่สุด 
          
   ดังนั้น การที่จะบอกว่า ตำราพิชัยสงคราม นั้นเกิดใ นสมัยใ ด ลักษณะเ ป็นอย่างไ ร สามารถ ใ ช้แ นวทางข้างต้นพิจารณาได้
     1. ลักษณะของ ภาษา และ อักขร สำคัญที่สุดในการบอกยุคสมัย เพราะ แต่ละรัชกาล มีพัฒนาการของภาษา
     
  ภาพ: ตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับ รัชกาลที่ 1
  
2. ต้องเ ทียบรูปแบบ  ของ คำกลอน  การจัดทัพ  การตั้งทัพ ซึ่งในแต่ละรัชกาล  ตำราพิชัยสงครามมีวามแตกต่างกัน
  
  
ภาพ:ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 1 เ ป็นกระบวนทัพล ักษณะ   "มังกรพยู่ห์ข้ามน้ำ หางยกข้าม"
"จักรพยู่ห์ตั้งจอมเขาที่ชันแล" และ "จักรพยู่ห์ตั้งบนเขา แทบทุ่งแล"

ภาพ : ตำราพิชัยสงคราม ฉ .รัชกาลที่ 2  กระบวนทัพ "มังกรพยู่ห์ข้ามน้ำ หางยกข้าม"

  
ภาพ : ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3 "มหามังกรพยุหข้ามแม่น้ำให้เอาหัวหางข้ามก่อนที่ชัน"


ภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ. จังหวัดเพชรบูรณ์ (ไม่มีคำอธิบายเพราะยังไม่ได้เห็นตัวฉบับดังกล่าว ครับ)


ภาพ 2 ภาพข้างบนนี้ เป็น ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่่ 3

       ใ นฉบับ รัชกาลที่ 1 เรียกว่า "มหิงส์พยู่ห์โจม ให้โจมทัพ" รูปจะเหมือน ฉบับ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ใน ฉบับรัชกาล ที่3 ชื่อว่า  "มหิงษพยุหตั้งที่ลุ่มวางพลเปนวงเขากรบือจยกเดินก็ได้ "


ภาพ ฉบับ จังหวัดเ พชรบูรณ์

3. ภาษาขอม ที่ใช้ก็บอกความแตกต่างของยุคสมัยได้ เช่นกัน เพราะ ผู้เขียนเคย ดูตำราพิชัยสงคราม ที่ พิพิธภัณฑ์เ จ้าสามพระยา เ ชื่อว่าเ ป็น ฉบับ สมัยอยุธยา   พบว่ามี ภาษาขอมค่อนข้างมากโ ดยเ ฉพาะใ นด้านเ วทมนต์
     4.เ จ้าพระยาเพชรบูรณ์ ในสมัยนั้นถ้าเป็น แม่ทัพที่ถูกระดมไ ปตี ลาว เขมร ญวน  ชื่อ แม่ทัพจะสอดคล้อง กับ กระบวนพยู่ห์ที่ใช้ หากเป็น ฉบับกลางแปลง จะสามารถพิสูจน์ ตรงนี้ไ ด้เพราะเป็นหลักในการจัดทันาม มงคลนามของแม่ทัพ

น่าสนใจศึกษาดีครับ สำหรับปีใหม่ 2552 ที่จะถึงนี้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

ปล. 1.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 1 นำมาจาก   "ตำราพิไชยสงคราม  ฉบับรัชกาลที่ 1 กรมศิลปากร 2545
      2.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 2 นำมาจาก Narisa et al , 2006 . " Siam in Trade and War Royal Maps of the Nineteenth Century" 
      3.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3 นำมาจาก ตำราพิไ ชยสงคราม ของกรมศิลปากร -พิมพ์ พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์ในงานณาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ(ตลับ บุณยรัตพันธุ์)  
    

No comments: