Feb 29, 2012

ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ พร้อมพิมพ์รูปเล่ม



        หลังจากที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาและการเขียนอยู่พอสมควร  ต้นฉบับหนังสือ "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์"  ทั้งเล่มคำกลอนและ เล่มกระบวนพยุหะ  ได้ถูกถอดรหัส เสร็จและปิดเล่มเป็นที่เรียบร้อย  กำลังตรียมจัดเส่งให้ ทางสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เพชรบูรณ์ ได้ดำเนินจัดพิมพ์รูปเล่มต่อไป
        หลายท่านที่สนใจ  "ตำราพิไชยสงคราม ของไทย"  หนังสือเล่มนี้ได้ ไขรหัสและให้รู้ความกระจ่างชัดขึ้น ทั้งที่ไป-ที่มา   เช่น
       - สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  พระองค์ได้ทรงแต่งและเรียบเรียงตำราพิไชยสงครามขึ้น จาก ตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ  จาก ฉบับ ที่ชื่อว่า กามันทะกี
        -ตำราพิไชยสงครามไทย นั้นมี 2 ตำรับ คือ ตำรับแรก เล่มคำกลอน มี่ 5 เล่มสมุดไทย ผู้เขียนเปรียบเสมือนว่าเป็น"Textbook"  และ ตำรับที่สอง เล่มกระบวนพยุหะ (Vyuhas) เท่าที่พบมี 1 เล่มสมุดไทย เปรียบดัง "Workbook" ต้องใช้ทั้ง 2 ตำรับควบคู่กัน
         -และยังไขรหัส 21 กลศึก สามารถสรุปได้  3 ลักษณะประเภทกลศึกที่ใช้ สอดประสานกันโดยตลอดตั้งแต่ การคิดกลศึกรับสงคราม  การดำเนินชีวิตประจำวัน และ ในระหว่างกระบวนพยุหะ
        -อีกทั้งได้ ทำ การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระหว่าง  กระบวนพยุหะการดำเนินสงคราม ระหว่างไทยกับพม่า ให้เห็นภาพว่าแตกต่างหรือ เหมือนกันอย่างไร
          ที่ยังไม่เคยมีใครทำคือ  นำตำราพิชัยสงครามซุนวู มาเปรียบเทียบ กับตำราพิไชยสงครามของไทย เพื่อสังเคราะห์ ให้เห็น "องค์ความรู้ด้านยุทธศาสตร์ของไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน"

        คงต้องอดใจรอสักพักครับ ในการดำเนินการจัดพิมพ์ "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์" ให้เป็นรูปเล่มที่นำไปสู่การใช้งานและศึกษาอ้างอิงกันต่อไป


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

     



Feb 6, 2012

ริ้วกระบวนเพชรพวง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

  ได้เห็นข่าว งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 16 – 22 กุมภาพันธ์ 2555 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ว่าจะีการจัดขบวนแห่ทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ กับ ขบวนช้าง ม้า แบบ  "ริ้วกระบวนเพชรพวง" 
                                                            (รูปจาก http://tiewpakklang.com/index.php?id=897)
      เชื่อว่า หลายท่านคงจะ งง ๆ หรือไม่ก็ไม่รู้จัก หน้าค่าตา "ริ้วกระบวนเพชรพวง" เป็นอย่างไร หรืออาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน 
      แต่ผู้เขียนรู้สึกยินดีและชื่นชมที่จะได้เห็นการสืบต่อและ อนุรักษ์  "ธรรมเนียมโบราณ" เอาไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้
      ผู้เขียนถือ โอกาสนำภาพ ต้นฉบับสมุดไทย  ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้คัดลอกมาจากต้นฉบับของหม่อมเจ้าปิยภักดีนารถ  ริ้วกระบวนแห่เล่มนี้เรียกว่า  กระบวนเพชรพวง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เสด็จขึ้นไปพระพุทธบาททางสถลมารถ  เป็นกระบวนพยุหยาตราช้าง  ม้า เรือ   



    
       ซึ่งยังมีอีกเล่มเป็นสมุดไทยดำ ริ้วกระบวนแห่ จ.ศ. 1155  แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ กระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารถ  สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นสมุดไทยขาว  เขียนไว้ว่า "สมุดจำลองจากวัดยมกรุงเก่า" หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ผู้รักษากรุงเก่า เมื่อ พ.ศ.2440 ให้ช่างเขียนคัดจำลองภาพจิตรกรรม ฝาผนังวัดยม ก่อนที่ภาพจะลบเลือนไปหมด  และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ให้ขุนประสิทธิจิตรกรรม จำลองภาพไว้จาก สมุดภาพฉบับอยุธยาพิพิธภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. 2461   (กรมศิลปากร 2544 : กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  หน้าคำชี้แจงเกี่ยวกับต้นฉบับ )

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com