ผู้เขียนศึกษาเกี่ยวกับตำราพิไชยสงคราม ได้ค้นคว้าเอกสารจากหลายเล่ม โดยเฉพาะเอกสารโบราณ ตำราพิไชยสงครามไทยที่เป็นทั้งสมุดไทย และ ฉบับของจริง อยู่หลายฉบับ ขณะเดียวกันก็มีเอกสารระดับรอง คือ บรรดาหนังสือ ตำราและเอกสารที่ ประมวลการศึกษาอยู่หลายเล่มด้วยกัน
มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งที่ มักมีผู้ศึกษาและกล่าวถึงกันอยู่เสมอ ๆ เป็นเล่มที่ว่าด้วย กระบวนพยุหยาตรา ประวัติและพระราชพิธี เขียนโดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์และนิยะดา ทาสุคนธ์ พิมพ์ครั้งแรก ปี 2531 และครั้งที่ 2 ปี 2543 (ราคาปีที่พิพม์ เล่มละ 250 บาท)
ผู้เขียนได้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้มาก ( ผู้เขียนไปอ่านต้นฉบับที่ หอสมุดแห่งชาติ เพราะหนังสือหมดไปแล้ว) ในการใช้กลศึก และการจัดทัพของพม่า (ตามตำราพิไชยสงครามของพม่า) มาเปรียบเทียบกับการจัดทัพตามตำราพิไชยสงครามของไทย
โดยผู้เขียน ได้จัดทำเป็นภาพจำลองการทำสงคราม ในเรื่อง การเดินทัพ การตั้งทัพ การจัดทัพในการรบ และรับ การถอยทัพ ฯลฯ ว่าใช้กระบวนพยุหะ อะไรบ้าง ซึ่งโดยข้อเท็จจริง การจัดทัพของพม่าสมัยก่อน จะแตกต่าง กองทัพไทยในสมัยโบราณ ซึ่งในตำราพิไชยสงครามไทย ตำรับ ชุดที่เรียกกันว่า ฉบับคำกลอน มีทั้งหมด 5 เล่มสมุดไทย ไม่ได้อธิบายให้เห็นภาพที่ชัดนัก แต่ต้องอาศัยการจำลองภาพการรบจาก รูปแบบกระบวนพยุหะ ต่าง ๆ ใน มหาภารตะ การจัดทัพแบบจตุรงคเสนาของกองทัพพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งราชวงค์โมริยะของอินเดีย และ กับ รูปแบบกองทัพโบราณของ พระเจ้าอเล็กซ์ซานเดอร์มหาราช หรือแม้กระทั่ง หนังสือตำนานสามก๊ก เหล่านี้
ผู้เขียนจึงเกิด มโนทัศน์ ว่า การจัดกองทัพของไทยและพม่าในสมัยโบราณ ตาม กระบวนพยุหะ ตามตำราพิไชยสงคราม ควรเป็นเช่นไร (คอยอ่านได้ครับ อยู่ในหนังสือ ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ กำหนดเสร็จ เร็ว ๆ นี้ )
โชคดีมากครับ เมื่อ ปลายเดือน พ.ย.55 มีโอกาสไปพบหนังสือเล่มนี้เข้า สภาพยังสมบูรณ์ และได้ซื้อเก็บเช้าคลังหนังสือ ตำราพิไชยสงคราม ของผู้เขียน ...
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
1 comment:
อยากได้หนังสือเล่มนี้มาก
หาอ่านยากจริง ๆ ผมตามหามาหลายที่แล้ว
ท่านโชคดีมาก ๆ เลยครับ
Post a Comment