Apr 21, 2013

สงครามพม่ากับอยุธยา

สงครามกับอยุธยา จากข้อมูลของพม่า...เป็นวิทยานิพนธ์ ของนศ.พม่า ที่ได้ทุนมาเรียนที่เมืองไทย  เรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือ ผมเห็นแล้วไม่ลังเลที่จะซื้อเลย

สมัยที่ผมเรียนประวัติศาสตร์ ไม่เคยรู้สึกว่าเบื่อ และไม่ได้รู้สึกว่า จะท่องพศ. และท่องชื่อพระมหากษัตริย์นั้น จะเป็นความทุกข์ทรมานอะไร  แต่ มีมากกว่า เสียอีกคือ อยากรู้ลึกกว่าที่เรียนแต่ในตอนนั้นก็ได้แต่คิดอย่างนั้น เพราะไม่รู้ว่าจะไปรู้ไปหาจากไหน

ขณะที่ปัจจุบันต่างกัน มีแหล่งความรู้ มีกำลังพอที่จะหาความรู้  และอยากเผยแพร่ในสิ่งที่รู้  ว่าประวัติศาสตร์มีคุณค่าอะไร และดำรงความเป็นชาติมาถึงเราได้
อย่างไร 
และเหมือนกัน คือ ประวัติศาสตร์สอนอะไรเรา  ซึ่งบางคน บางกลุ่มไม่ยอมเรียนรู้ และทำในสิ่งตรงข้าม  เพราะเขาคิดตรงกันข้ามโดยไม่ยินดีจะ
รับรู้อะไรนอกจากผลประโยชน์ส่วนตน
และ อามิสสินจ้าง

ผมสนใจ กลยุทธและยุทธศาสตร์สงคราม โบราณ เพื่อเรียนรู้และนำมาสู่ยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นคุณค่าและความสวยงามทาง
ความรู้และภูมิใจในความเป็นชาติไทย และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของบุรพมหากษัตริย์เจ้าทุกพระองค์ และบรรพบุรุษของเราที่หวงแหนสละ
ชีวิตปกป้อง ให้เรามีแผ่นดินได้อยู่จนถึงทุกวันนี้

บันทึก 22 -04-2556
ดร.ดนัย  เทียนพุฒ

Mar 5, 2013

13-03-2013 : เสวนา ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์



    มาเสวนา ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ กับ ผู้เขียนได้ วันที่ 13 มี.ค.56 ทั้งวัน พร้อมทั้งฟังประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์ จากดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ นายกสภา มรภ.เพชรบูรณ์  พบกับผู้มอบตำราพิไชยสงคราม คุณมาวิณหุ์ พรหมบุญ และ สัมผัสชม ตำราพิไชยสงครามฉบับจริง
....ที่ มรภ.เพชรบูรณ์ ...................

    ท่านยังจะได้รู้อีกว่า ทำไมตำราพิชัยสงคราม ซุนวู จึงมี 13 บท

(http://www.zhuge-liang.net/kongming/images/art_of_war.jpg)

ทำให้ผู้เขียน ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่า  ทำไม "กลยุทธไทยโบราณจึงมี 21 กลศึก"

และล่าสุด ท่านจะได้พบกับ "รหัสที่ถอดได้ว่า ตกลงแล้ว ตำราพิไชยสงครามไทย ที่เป็นเอกสารโบราณ มีกี่เล่มสมุดไทย"   ...ผู้เขียนเคยบอกปริศนานี้ไปแล้วว่า.."มี 2ตำรับ" 

อย่าพลาดนะครับ  ...ทุกท่านที่มา ได้รับหนังสือ เล่มที่ผู้เขียน "วิเคราะห์และอรรถาธิบาย" เป็นเล่มแรกในเมืองไทยที่เขียนแนวนี้ ๆๆๆๆๆ..




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133   email: drdanait@gmail.com


Feb 21, 2013

การเสวนา "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์กับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์"


          โครงการเสวนา เรื่อง "ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ กับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์  พร้อมนิทรรศการ  ให้ชมต้นฉบับจริง ของตำราพิไชยสงคราม  เมืองเพชรบูรณ์  จัดขึ้นในวันที่ 13 มี.ค.56 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์ 
          ดร.ดนัย เทียนพุฒ  หนึ่งในวิทยากรร่วมเสวนา และเป็นผู้เขียนบทวิเคราะห์และอรรถาธิบาย 
          ท่านที่สนใจเข้าร่วมงานจะได้หนังสือ ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ ทุกท่าน



เชิญร่วมงานและพบกับผู้เขียนได้ ในวันที่ 13 มี.ค 56 ครับ.................

0900-1000น.  เปิดด้วย การบรรยายพิเศษ ..เรื่องเหตุการณืสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์ 
                       โดย ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

1015-1000 น. เสวนาเรื่อง "ทำความรู้จักกับตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์"
                       โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ (ผู้เขียนหนังสือ)  และ นายมาวิณห์ พรหมบุญ
                                (ผู้มอบเอกสารโบราณ ตำราพิไชยสงคราม ให้ กับเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์) 
                               ดำเนินรายการ ผอ.ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

1300-1400 น.เสวนาเรื่อง  "นัยสำคัญของการมีตำราพิไชยสงคราม ที่เพชรบูรณ์"

1415-1530 น.เสวนาเรื่อง "ภูมิปัญญายุทธศาสตร์ไทยที่แฝงอยู่ในตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมือง
                                เพชรบูรณ์"

1530-1600 น. เปิดตัวหนังสือ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ วิเคราะห์และอรรถาธิบาย                        
                               โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
                              

1600-1700 น. ตอบข้อซักถาม

                        







ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133   email: drdanait@gmail.com



Feb 2, 2013

ปรากฎโฉม หนังสือ "ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์"

      "ตำราพิไชยสงครามเป็นเอกสารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ คู่บ้าน คู่เมืองมาแต่ครั้งสมัยโบราณ และยังมีภูมิปัญญาที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าปรากฎอยู่ด้วยกันในเรื่องว่าด้วย สาเหตุแห่งสงคราม กลศึกหรืออุบายแห่งการสงคราม การยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของกองทัพ  แล้วยังมีเรื่องราวความเชื่อเหนือธรรมชาติ เช่น โหราศาสตร์สงคราม มหาทักษาพยากรณ์ การคัดเลือกแต่งตั้งแม่ทัพนายกอง โลกวัตรธรรมวัตรของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง"
   
       ข้อความทั้งหมดมาจากคำนำ ใน บทที ๑  เรียนรู้สรรพวิชายุทธศาสตร์เติมเต็มประวัติศาสตร์  และ เป็นคำโปรย ในปกหลังของหนังสือ ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์ 




          นับตั้งแต่ที่มีการมอบหนังสือสมุดไทยที่เป็นเอกสารโบราณ เกี่ยวกับตำราพิไชยสงคราม โดยคุณมาวิณห์ พรหมบุญ  ที่เป็นข่าว เมื่อ 11 ธ.ค.51 ให้กับหอประวัติศาสตร์เพชรบูรณ์
          ผู้เขียนจำได้ว่า ได้เขียนบทวิเคราะห์และให้ความเห็น ในตำราพิไชยสงครามนี้แตกต่างไปจาก ผู้รู้ท่านอื่น ๆ และทำให้ได้มีโอกาส พูดคุยกับคุณสุนทร คงวราคม ผู้สือข่าวท้องถิ่น นสพ.มติชน จังหวัดเพชรบูรณ์  อันเป็นที่มาของการได้เอกสารภาพสมุดไทยโบราณ ทั้งหมดมาใช้วิเคราะห์และอธิบาย ตลอดจนการทำข่าวและติดตามพูดคุยถึงความคืบหน้าในการศึกษาและเป็นผู้แนะนำให้ "วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ" ติดต่อขอบทความจากผู้เขียน
          และ จนกระทั่งได้รับเชิญจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เพชรบูรณ์
ให้เขียนบทความเกี่ยวกับตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์  หลังจากนั้นได้พูดคุยกันพอสมควร โดยทาง ผอ. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม บอกว่า มีความประสงค์และสนับสนุนให้ผู้เขียน ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียง มรดกโบราณอันทรงคุณค่านี้ให้กับทาง จ.เพชรบูรณ์ และประเทศชาติ

          ด้วยความสนใจและศึกษาด้านการจัดการกลยุทธ ผู้เขียนตกลงที่จะทำการศึกษาและเขียนหนังสือเล่มนี้  ในปีน้ำท่วม (ปี 54) จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์และกว่าจะได้จัดพิพม์เป็นเล่มได้อย่างลงตัวก็ลุล่วงมาจนกระทั่ง มกราคม 2556 โดยจัดพิมพ์ ออกมาเป็นรูปเล่มที่โดดใจผู้เขียนมาก ทั้งขนาดและภาพประกอบ การจัดวางดีไซน์
          หนังสือเล่มนี้ เริ่มด้วย
          บทนำ บังอบายเบิกฟ้า: เปิดภูมิปัญญายุทธศาสตร์ไทย
          ".....ตำราพิไชยสงคราม ถือเป็นตำราที่สำคัญของพระมหากษัตริย์และแม่ทัพนายกองที่ต้องศึกษาร่ำเรียน เมื่อถึงคราวบ้านเมืองมีอริราชศัตรูยกทัพมารุกราน หรือตีชิงบ้านชิงเมืองยามนั้น "หัวศึก" คือ แม่ทัพหรือพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นจอมทัพ ย่อมต้องคิดกลศึกไว้ต่อตีกับข้าศึก ตำราพิไชยสงครามแต่ละเล่มสมุดไทยอาจจะแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของบรรพบุรุษไทยในการทำสงครามกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง จนกระทั่งตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นเราในปัจจุบัน...."

          บทที่ ๑  เรียนรู้สรรพวิชายุทธศาสตร์เติมเต็มประวัติศาสตร์ 
                 -พิไชยสงครามภิวัฒน์
                 -สรรพวิชายุทธศาสตร์
         "....ตำราพิไชยสงครามเป็นเอกสารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ คู่บ้าน คู่เมืองมาแต่ครั้งสมัยโบราณ และยังมีภูมิปัญญาที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าปรากฎอยู่ด้วยกันในเรื่องว่าด้วย สาเหตุแห่งสงคราม กลศึกหรืออุบายแห่งการสงคราม การยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของกองทัพ  แล้วยังมีเรื่องราวความเชื่อเหนือธรรมชาติ เช่น โหราศาสตร์สงคราม มหาทักษาพยากรณ์ การคัดเลือกแต่งตั้งแม่ทัพนายกอง โลกวัตรธรรมวัตรของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง...."

          บทที่ ๒ ตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์
          "..เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วย ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์: ภาพรวมของตำรา การอุบัติขึ้นของตำราพิไชยสงครามฯ(รูปแบบของการครอบครองตำราพิไชยสงคราม การสืบทอดตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์)  ตำราพิไชยสงครามฯเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓  สิ่งที่พบใหม่ในตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูนณ์  คุณค่าและความใสำคัญของตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์..."

          บทที่ ๓ ถอดรหัสตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอน
          "..ผู้เขียนได้ทำการถอดความตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอน โดยเทียบเคียงกับตำราพิไชยสงคราม ๓ ฉบับ โดยปรับให้มีความถูกต้องตรงตามฉบับหลวงพิไชยเสนา และได้ทำตารางเปรียบเทียบความสอดคล้องของตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ กับตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา และฉบับรัชกาลที่ ๑..."

          บทที่ ๔ ถอดรหัสตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มกระบวนพยุหะ
        "... ตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มกระบวนพยุหะ (แผนภาพ) เอกสารโบราณชิ้นนี้เป็นสมุดไทยดำ ตัวอักษรสีทอง และบางส่วนสีขาว แผนภาพเส้นสีขาว รูปภาพสีหรดาล และสีน้ำยา  และผู้เขียนได้ทำการถอดความโดยเทียบกับตำราพิไชยสงคราม ๓ เล่ม คือ ตำราพิไชยสงครามฉบับรัชกาลที่ ๒ เล่มที่ ๑ ชื่อสมุดแผนทีพิไชยสงครามยกใหม่ ว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ  ตำราพิไชยสงครามเลขที่ ๑๙ ว่าด้วยวิธีตั้งค่าย สมุดพิไชยสงครามกระบวนพยุหะของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์..."

         บทที่ ๕ สะพานเชื่อมความรู้จากอดีตสู่ปัจจุบัน
         "...หนังสือตำราพิไชยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ มีหลายสิ่งหลายอย่าง เพิ่งปรากฎการค้นพบและสร้างให้เกิดความเข้าใจ นำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านยุทธศาสตร์ไทย และหากปรับบางสิ่งโดยใช้หลักวิชายุทธศาสตร์ ในเรื่องการประเมินทัศนภาพ การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง จะพบว่า สามารถปรับประยุกต์ใช้กับบริบทในปัจจุบันได้หลายองค์ความรู้ทีเดียว..."

หมายเหตุ: 
ท่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ ติดต่อ
โดยตรงที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เพชรบูรณ์
โทร ๐๕๖๗๑๗๑๔๐


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com 
       

Jan 24, 2013

ตามหาร่องรอย ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์


     ในตำราพิไชยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ มีข้อความหน้า สมุดไทยซึ่งเป็นเอกสารโบราณ ระบุว่า เป็นการส่งจาก เจ้าพระยานครราชสีมา มายัง พระยาเพชรบูรณ์ ดังนี้

.......เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดีพิริยะภาหะมาถึงพระยาเพชรรัตน์สงครามรามภักดีพิริยะภาหะ ....
ซึ่งเป็นช่วงการทำสงครามระหว่าง ไทยเขมรและญวน ตามบันทึกราชการสงครามของ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3 หรือเรียกกันว่า อานามสยามยุทธ

ทำให้ผู้เขียนอดไม่ได้ที่อยากจะรู้ว่า ในพระราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา บันทึกเรื่องนี้ไว้หรือไม่อย่างไร

ตาม หนังสือ “ราชพงศาวดารกัมพูชา ดังรูปข้างต้น เป็นฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์)  ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาเขมร ได้รับมอบหมายให้แปล จากฉบับภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทย   ซึ่งท่านศาสตราจารย์ ยอช เซเด ได้มาจากกรุงกัมพูชามาให้หอสมุดวชิรญาฯ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459

เมื่ออ่านดูตามช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ระบุถึง คงเป็นการระบุเพียง ว่าทางกรุงเทพส่ง เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพยกมากับขุนนางไทย ...ทำให้ล่องรอยไม่ปรากฎชัดดังใน อานามสยามยุทธ ที่ระบุเรื่องราวของ พระยาเพชรบูรณ์ไว้ ละเอียดพอสมควร

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Jan 11, 2013

รับปี 2556 แบ่งปัน ความรู้ ตำราและเอกสารเก่า (พิมพ์ใหม่ก็ยังเก่า)


ในระหว่างที่ผู้เขียนศึกษาและวิเคราะห์ที่ไปที่มาของตำราพิไชยสงครามไทย ตำำรับ ฉบับคำกลอน ในเล่มสมุดไทย จะมีโครงสี่สุภาพอยู่ บทหนึ่งอธิบายไว้ว่า

...สมเด็จจักรพรรดิ์รู้      คัมภีร์
ชื่อว่า กามันทกี          กล่าวแก้
พิชัยสงครามศรี          สุรราช
ยี่สิบเบ็ดกลแล้           เลิศให้เห็นกล

ชื่อตำราพิชัยสงคราม "กามันทกี" เป็นตำราพิชัยสงครามโบราณ ของฮินดู เล่มหนึ่ง
ช่างเป็นการบังเอิญมาก  ๆ ที่ พยายามสืบค้นชื่อจากทางอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลต่างนี้แต่ไม่พบ


กับ แผนที่เมืองพิษณุโลก ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ สันนิษฐานว่าน่าจะมีการแก้ไข ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวร

ปรากฎว่า หนังสือพิชัยสงครามฮินดูโบารณ ได้เฉลยความเข้าใจ และหลักฐานในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี







Jan 3, 2013

ล่าสุด ...ตำราพิไชยสงคราม เมืองเพชรบูรณ์



           สถานการณ์ล่าสุด ของหนังสือ ตำราพิไชยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ....ตามที่มีผู้สนใจสอบถามถึงหนังสือเล่มนี้
           เดิมที คาดว่าน่าจะเสร็จทันก่อน ปีใหม่ 2556 ..แต่ด้วยความตั้งใจและทุ่มเทของ ผอ.และทีมงานของ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เพชรบูรณ์ ที่ได้จัดรูปแบบและ วางให้อ่านเข้าใจได้สำหรับ คนในยุคปัจจุบัน กับการวาดรูปใหม่และการใช้ตัวเลข แบบเลขไทย ทำให้ต้องล่าช้า ออกไป

         บัดนี้ น่าจะเป็นที่ลงตัวแล้ว คือ ทางโรงพิมพ์ เดินเครื่อง... สัปดาห์หน้าของ ม.ค.56
         จึงได้นำ ปกหน้า-หลัง มาให้ดู ก่อนช่วง Digital proof 
         อดใจรออีกนิดครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com