ความสนใจของ ผมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาขอ
ในคราวที่ ไป บรรยายเรื่องราวของตำราพิไชยสงคราม ซึ่งจัดโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.เพชรบูรณ์ ได้มีโอกาสพูดคุยกันหลายเรื่องกับ ผอ.ปิลันธนา (ในขณะนั้น) ท่าน ผอ. บอกว่า เคยไป นครวัดหรือยัง ผมบอกยัง ท่านก็บอกว่า ต้องไปให้ได้
กลับมา กทม. ได้พักหนึ่ง ผมมีสอน ป.โท วิชา HRM in Education ก็คิดไปมากับคณบดี ศึกษาศาสตร์ มซจ. จัด นศ.ป.โท ไป ดูงาน ซึ่งมีทั้ง ไปดู ศิลปะและวัฒนธรรม การรองรับ AEC 2015 การเข้าวิธีคิดของแต่ละยุค
ได้มีโอกาสไปดูความอลังการ ทั้ง นครวัดและนครธม และอีก 2-3 ปราสาท
ทำให้ผู้เขียน ติดใจในเรื่อง ภาพสลักนูนต่ำของเรื่องมหาภารตะยุทธ สยามกุก การรบของขอมโบราณ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ ได้นำมาเชื่อมต่อกับ สิ่งที่ขาดหายไปใน ตอนที่ศึกษาและ เขียนตำราพิไชยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ น่าจะทำให้เติมเต็มได้ มากยิ่งขึ้น
และทำให้อยากกลับ ไปทบทวนและศึกษาสิ่งที่ค้างอยู่ เรื่องของ สยามกุก และ การถอดรหัส ในตำราพิไชยสงคราม โดยเฉพาะ วิธีการตั้งทัพ ซึ่ง มีหลักการคำนวณ ซึ่งยังไม่อาจตีความได้ หรือ เรื่องการตั้งพยุหะต่าง หากลองเทียบระหว่าง ที่มีในมหาภารตะยุทธ ตำราพิชัยสงครามของพม่า และ ตำราพิไชยสงครามของไทย ผู้เขียนเชื่อว่า "เราจะ ถอดองค์ความรู้ได้ดียิ่งขึ้น"
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
No comments:
Post a Comment