Dec 22, 2011

ตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา


ตำราพิไชยสงครามที่กล่าวถึงกันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา หรือฉบับหมอปรัดเล พิมพ์ในปี พ.ศ.2418  ถือเป็นตำราพิชัยสงครามที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน และใช้เทียบเคียงกับฉบับที่ตีพิมพ์ในชั้นหลัง ๆ



ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีใครได้มีโอกาสอ่านหรือหาอ่านยาก และการทำความเข้าใจทั้งหมดไม่ใช่เรื่องง่ายนัก อีกทั้งต้องใช้คู่ กับ ตำราพิชัยสงคราม อีกตำรับ คือ ฉบับกระบวนพยุหะ

ตำราพิไชยสงคราม ตำรับนี้  1ชุด มี 5 เล่มสมุดไทย พิมพ์ ต่อเนื่องแบบหนังสือสมัยปัจจุบันมีทั้งหมด 124 หน้า  ราคาใน ปี พ.ศ. 2418 เพียง สามบาท

โดยหน้าปกในระบุว่า
1) หนังสือพิไชยสงครามไทย รวมเป็น ห้าเล่มสมุดไทย  ได้คัดลอกมาจากฉบับของหลวงพิไชยยเสนา

2)  o  พิไชยตำหรับนี้          ศุภผล
         ยี่สิบเบ็ดครบกล        ถี่ถ้วน
         สำหรับราชมณฑล    ปราบศึก  สถานเอย
         ครบสิ่งสงครามล้วน  เลิศแล้วควรเรียน
3)พิมพ์ที่โรงพิมพ์ปรัดเล  ริมป้อมปากคลอง บางกอกใหญ่ ณ กรุงเทพ

ผู้เขียนได้นำมาลงไว้เป็น คลิปวีดีโอ เฉพาะหน้าปกใน หน้าต้นและหน้าสุดท้าย
ส่วนภาพ กระบวนครุฑพยุหะ ไม่ได้อยู่ในตำราพิไชยสงครามเล่มนี้ นำลงมาประกอบเฉย ๆ เพื่อให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์กัน



วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Dec 20, 2011

ตำราพระมหาพิชัยสงคราม ฉบับวัดควนอินทร์นิมิต อ.เมือง จ.พัทลุง


ตำราพระมหาพิชัยสงคราม ฉบับวัดควนอินทร์นิมิต อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง  (ผู้ปริวรรต ชัยวุฒิ พิยะกุล 2541)

        ตำรา ตอนต้นกล่าวถึงข้อปฏิบัติทางธรรมของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ และกล่าวถึงการปฏิบัติทางโลกของพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นจึงกล่าวถึงกลศึก เหตุของสงคราม ลักษณะการตั้งทัพ ลักษณะการชนะข้าศึก การปราชัยศึก การทำลายข้าศึก ลักษณะของกองทัพ การรบศึกหรือการทำสงคราม การประสมดินปืน การยิงปืนใหญ่ และฤกษ์ยาม คาถาอาคมทางไสยศาสตร์ ซึ่งสอดแทรกอยู่เกือบทุกส่วนของตำราพระมหาพิชัยสงคราม
(อิงอร จุลทรัพย์ ผู้บันทึก/27 ก.ย 53 อ้างจาก http://www.ists.tsu.ac.th/ists/Research/detail.php?Empid=30 )

ดูตามเนื้อหาที่ ปริวรรตมา เท่าที่เทียบเคียงกับเนื้อความใน ตำราพิไชยสงคราม ฉบับหลวงพิไชยเสนา (หมอปรัดเล ปี พ.ศ.2418) ซึ่งถือเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นฉบับที่ใช้เทียบเคียงในปัจจุบัน ชุดนี้มี ๕ เล่มสมุดไทย

......   ตำราพระมหาพิชัยสงคราม ฉบับวัดควนอินทร์นิมิต จังหวัดพัทลุง เหมือนจะตรงตามบางส่วนของเล่ม ๔  และเล่ม ๕  

ส่วนที่กล่าวถึงน้ำมันดินว่า "ตำราน้ำมันดินชรัด"คำว่า "ชรัด" เป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง  นั้น ไม่ปรากฎคำนี้ หรือ วิธีการ ในการผสมดินปืน ไม่มีการกล่าวถึงในการจะทำดินสำหรับพิไชยสงคราม เล่ม ตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา  โดยเฉพาะเล่ม ๔  ที่อธิบายถึง  วิธีการยิงปืนใหญ่  มุมการยิง  การทำดินประสิว ดินปืนใหญ่  และดินสำหรับพิไชยสงคราม......

ปัจจุบันนี้เป็นที่น่าเสียดาย อย่างยิ่งครับ เพราะได้วานให้เพื่อนที่เป็น ผู้การสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จังหวัดพัทลุง ได้ลองสอบถาม ไปยังวัดควนอินทร์นิมิต ถึงตำราเล่มนี้ ปรากฎว่า ทางวัดได้เผาทิ้งไปนานแล้ว เพราะการเก็บรักษาทำได้ไม่ดีปลวกขึ้น จึงต้องทำลาย มรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าชิ้นนี้ไป


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

Dec 5, 2011

ตำราพิไชยสงครามไทยมี 2 ตำรับ




           เป็นที่สงสัยและศึกษาค้นคว้ากันมานานว่า ในความเป็นจริงแล้วตำราพิชัยสงครามของไทยเรามีกี่เล่มที่เป็นหลักยึด ศึกษาเรียนรู้ของบรรดาแม่ทัพนายกอง  และใช้อบรมสั่งสอนทแกล้ว ทหารในอดีตกาลนับตั้งแต่ (อาจจะก่อน) อาณาจักรสุโขทัย สืบสายทอดยาวไกลผ่านความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอย ฟื้นกลับมารุ่งเรืองจวบจนถึง รัตนโกสินทร์ตอนต้น
              
          หลักฐานที่ปรากฎ
           1." ฉบับพระบวระพิไชยสงคราม ตำรับไญย ชำระในรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เ ริ่ม ทำใ นจุลศักราช 1187(พ.ศ.2368)  จนสำ             เร็จได้ คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง ไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง"
        สมเด็จฯ กรมพราะยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า.. ปัจจุบันเป็นหนังสืกว่า 10 เล่มสมุดไทย เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแห่งใดที่จะบริบรูณ์ครบจำนวนสักแห่งเดียว  แบ่งได้เป็น 3 แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี  การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ...ตำราการรบพุ่งและอุบายสงครามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่งเป็นกลอน
         2ตำราพิชัยสงคราม  ฉ.รัชกาล ที่ 1(พิพม์เ ผยแพร่ชำระใหม่เป็นฉบับร่วมสมัยมีคำอธิบาย 2545)
   มีจำนวน 6 เล่ม เลขที่ 177 125 122 181 118 และ 184 จากเอกสารหมวดยุทธศาสตร์ หอมุดแห่งชาติ เป็นฉบับที่เขียนขึ้นใน ร. 1 มีเนื้อาเรื่องราวต่อเนื่องกัน และถือได้ว่าเป็นต้นฉบับ ที่คัดลอกมาเป็นฉบับหลวง มีอาลักษณ์เป็นผู้ชุบเส้นตัวอักษร และมีอาลักษณ์ชั้นผู้ใหญ่ตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งด้วย
        เล่มที่ 1 ว่าด้วยบทอาศิรวาท แล้วกล่าวถึงความสำคัญของตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์เกี่ยวกับการศึกสงคราม กลศึก 21กล นิมิตดี-ร้ายต่าง ๆ ลมที่พัดในร่างกาย และคำอธิบายกลศึกต่างๆ 
       เล่มที่ 2 ว่าด้วยกลศึกต่อจากเล่มแรก  ต่อด้วกลวิธีใการเคลื่อนพล ฤกษ์นาคร และยายี วิธีเล่นชัยภูมิ นิมิตบอกเหตุ  แลลักษณะความฝันที่เป็นนิมิตมงคล
         เล่มที่ 3 กลวิธีในการเคลื่อนพล การจัดทัพเป็นรูกระบวนต่างๆ เช่น กรศพยู๋ห์ ครุฑพยู่ห์  ตำราดูนิมิต มีภาพสีนำ้ยาลักษณะของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวหา ราศีต่าง ๆ 
      เล่มที่ 4 การจัดทัพเป็นรูปกระบวนต่าง ๆ มหาทักษาพยากรณ์ว่าด้วยการทำนายนามเมือง นมเสนาบดี เพื่อคัเลือพลที่เป็นนามมคลเข้ากงทัพ วันและฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ เบญจปักษี ว่าด้วย เกณฑ์ วัน ยาม และเวลาในการเคลื่อนพล ตำราดูนาค  และกฎเกณฑ์ในการตั้งทัพให้เหมาะกับจำนวนพล
       เล่มที่ 5  กล่าวถึงอธิไทยโพธิบาทว์ คือ อุบาทว์ 8 ประการและวิธีแก้ ตำราดูดี-ร้าย ดูราหู ดูฤกายายี นาคร ตำราเกณฑ์ทัพ ตรีเสนาและเบญจเสนา  
        เล่มที่ 6 กล่าวถึงเนาวพยัตติ ไม่มีในตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบรัดเลย์
       (โดยทั้งหมดชำระ ให้บริบรูณ์เทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบรัดเลย์ที่สุด)

       การศึกษาของ วสันต์ มหากาญจนะ (2542, สาระจากตำราพิไชยสงครามไทย :146-147) บอกว่า 
    1) ฉบับ น่าจะมีความหมายว่า เป็นชุด แต่ชุดหนึ่งควรจะมีตำราพิชัยสงครามจำนวนเท่าไหร่ยังเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย
     2) คำว่า ฉบับหนึ่ง ดังปรากฎอยู่ในหน้าต้นของตำราพิไชยสงคราม เลขที่ 179  น่าจะมีความหมายเท่ากับ "ชุดหนึ่ง" ชุดหนึ่งมีตำราพิชัยสงคราม 5 เล่ม โดยพิจารณาจากตำราพิไชยสงครามฉบับหมอ    บรัดเลย์ ที่กล่าวไว้ว่า "รวมเป็นห้าเล่มสมุดไทย"
     
       การศึกษาของผู้เขียน
      
        ในขณะที่ผู้เขียนกำลัง เรียบเรียง "ตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์"  อยู่ ซึ่งได้มีการเปิดเผย เมื่อปลายปี 2551 จำนวน 2 เล่มสมุดไทย 
         จากการตรวจสอบ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มคำกลอนโดยเทียบกับ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1
         1.1 มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ตรงกับ ตำราพิไชยสงคราม  ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 177 ทั้งเล่ม
         1.2 มีความ สมบูรณ์ถูก หน้าต้น  ส่วนหน้าปลาย ตรง 25 หน้า (ทั้งฉบับ 41 หน้า) กับ ตำราพิไชบสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 125 
             สิ่งที่ผิดพลาดเหมือนกัน คือ
             -กลยอนภูเขา  ตอนจบบทลงท้ายผิดเหมือนกัน และ ใน ตำราพิไชยสงคราม ฉบับ คำกลอน ที่กรมศิลปากร จัดพิมพ์ ในหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ ซึ่งเป็นฉบับใบลานของ เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) ผิดทุกฉบับ ตั้งแต่ ฉบับแรกพ.ศ.2469- ฉบับที เจ็ด พ.ศ.2512    
             สิ่งที่แตกต่างกัน 
             -ฉบับ เมืองเพชรบูรณ์ มีการลงท้ายจบ ฉบับ คำกลอนแบบโคลง สี่สุภาพ ซึ่งตำราพิไชยสงคราม ฉบับอื่น ๆ ยังไม่พบ 
              ยังมีส่วนที่ไม่ตรงกับฉบับ รัชกาลที่ 1 เลขที่ 125 คือ นิมิตและทำนายฝัน ซึ่งเป็นภาษาไทย-ขอม

             1.3 ส่วนที่เหลือ ของ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์  ตรงกับ ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 181 หน้าต้นทั้งหมด  ส่วนหน้าปลาย ตรงกันถึงหน้า 6 (ทั้งหมด51 หน้า) ซึ่งจบฉบับเมืองเพชรบูรณ์  คำกลอนเพียงเท่านี้
                   สำหรับที่ไม่ตรงเป็นเรื่อง  ฤกษ์ ผานาที  สกุณานิมิต สัตว์ร้ายแสดงฤทธิ์ การตั้งทัพ เดินพล ตามฤกษ์
            และตำราพิไชยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ เล่มกระบวนพยุหะ (แผนภาพ) เท่าที่ได้ตรวจสอบกับตำราพิไชยสงคราม ในหอสมุดแห่งชาติ ที่กลุ่มหนังสืือตัวเขียนและจารึก ตามบัญชีหมู่ ยุทธศาสตร์ มีทั้งหมด 217 เล่ม(มีหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะตำราพิไชยสงคราม)  ตรงกับ ฉบับรัชกาลที่ 2 เล่ม 1  และ ตรงกับ เล่มอื่น ๆ อีก 2 เล่ม เล่มแรก เป็นสมุดไทยขาว  ตัวอักษรดำ และอีกเล่ม ลงสีน้ำยา (ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

            *สรุปคือ ตำราพิไชยสงครามไทย ชุดที่ใช้จริงและตกทอดและสืบต่อกันมานั้น  มี 2  ตำรับ  ตำรับแรก 1 ชุด มี 5 เล่ม สมุดไทย ตามตำราพิไชยสงครามฉบับหลวงพิไชยเสนา (ฉบับหมอปรัดเล) หรือ เทียบเคียงชุดนี้  และ ตำรับที่ สอง เป็น ตำราพิไชยสงคราม  กระบวนพยุหะ (แผนภาพ) เท่าที่พบมี 1 เล่มสมุดไทย ซึ่งตรงกับ เล่มกระบวนพยุหะ (แผนภาพ) ของตำราพิไชยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์




Dec 2, 2011

ตำราพิชัยสงครามไทย ฉบับจัดกระบวนทัพ รัชกาลที่ 3





เรื่องราวของตำราพิชัยสงครามไทย  เป็นสิ่งที่มีผู้สนใจและติดตามศึกษากันอย่างกว้างขวาง แต่โอกาสที่จะได้อ่านหรือ เห็นฉบับจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  ถือเป็นมงคลอย่างยิ่งถ้าใครได้ศึกษา "ภูมิปัญญาและมรดกของชาติที่พระมหากษัตริย์ และแม่ทัพนายกอง"  ได้มีการรวบรวมและบันทึกสืบทอดตกมาถึงปัจจุบัน


ผมนำ ภาพวีดีโอที่ได้บันทึก "ตำราพิชัยสงครามไทย ฉบับจัดกระบวนทัพ  รัชกาลที่ 3 " มาให้ได้ชมกัน






เป็นฉบับสมุดไทยดำลงเส้นสีทอง กล่องใส่ ด้านหน้าฝังมุก อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ



วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

ชุมนุมตำราพิชัยสงคราม

 ถ้าพูดถึงตำราพิชัยสงคราม ในโลกและบ้านเรา เชื่อว่า คงไม่มีใครไม่รู้จัก "ตำราพิชัยสงครามชุนวู (The Art of War)" ของจีนถือเป็นต้นตำรับของศิลปแห่งสงคราม ที่ทหาร นักธุรกิจ ทุกอาชีพต่างก็อ่านกันทั่วทุกคน











 ที่มาของรูป
( https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/94/Bamboo_book_-_binding_-_UCR.jpg)

ที่รองลงมาดูเหมือนจะเป็น "36 กลยุทธของซุนวู" มักเรียกกันอย่างนี้ซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าใครเขียนขึ้นมา  บางตำราก็ว่าเป็นคนนิรนาม  บางตำราก็ว่าเป็นซุนปิง ไม่มีข้อยุติ
สุดท้ายในกลุ่มนี้ คงหนีไม่พ้น "สามก๊ก" เพราะหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการทำสงครามชิงอำนาจกัน 3 ยุคโดยใช้ตำราพิชัยสงครามจีน  ถึง 6 ตำราด้วยกัน

หากพูดถึง "ตำราพิชัยสงครามของไทย" ที่เห็นกันมักขึ้้นตาม เวบและ บล็อกต่าง ๆ ที่เอา 21 กลยุทธ มาอธิบายความกันนั้น ส่วนใหญ่นำมาจาก"ตำราพิไชยสงครามคำกลอน" ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาในระยะหลัง

สายธารแห่งปัญญา

 ตามพงศาวดารไทยระบุไว้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม เมื่อ พุทธศักราช 2041
(บันทึกใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)

ผู้เขียนศึกษาในเรื่องนี้ตั้งข้อสันนิษฐาน ว่าคงมีที่มาของตำราพิชัยสงครามจาก มหากาพย์ภารตยุทธที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียโบราณ 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้เพราะมีผู้แปลเป็นหลายเล่ม  และยังสามารถใช้หนังสือ 
 "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" ที่ ร้อยเอก ยี.อี. เยรินี แปลและเรียบเรียงขึ้นจากตำรา นีติประกาศิกา (ตำราอาวุธ) และตำรายุทธสงคราม ศุกรนีติสาร จัดพิมพ์ใน ร.ศ.113 (ค.ศ.1894) ประกอบความเข้าใจได้(ดังรูปปกหนังสือข้างล่างเป็นเล่มที่พิมพ์ใหม่ ในปัจจุบัน-2548)



หนังสือตำราพิชัยสงคราม ที่ปรากฏเป็นอักษรปัจจุบัน ตามหลักฐานที่พิมพ์ขึ้นครั้งแรกปี 2418 โดยโรงพิมพ์ปลัดเลย์ หนังสือพิไชยสงครามไทย รวมห้าเล่มสมุดไทย คัดลอกมาจากต้นฉบับหลวงพิไชยสงคราม(เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด)

ส่วนที่กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ เล่มแรก ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรีพระยารามจตุรงค์(เพ็ชร บุณยรัตพันธ์) ปี 2469  เป็นตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับเดิมของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ์ ได้ให้หอพระสมุดฯ ตรวจทานและจัดพิมพ์ และมีตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพิมพ์ไว้ด้วย  และกลยุทธ 21 ประการ พร้อมคำอธิบายเป็นคำกลอน 

ซึ่งยากในการตีความและการนำไปปรับใช้ (แม้จะมีหลายท่านพยายามทำอยู่ก็ตาม) เพราะหากอ่านเข้าใจได้เลย เกิดตกไปอยู่ในมือศัตรูก็คงจะแย่  ขนาดของซุนวู ก็ยังมีแปลแล้วแปลอีก ยกตัวอย่างแทบจะทุกภาษา  ภาษาไทยก็แปลกันหลายสำนัก






ส่วนเล่มต่อมา เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 5 ของกรมศิลปากร อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอกขุนวรนิติ์นิสัย นอกจากเหมือนเล่มแรกแล้วยังมีเพิ่ม ตำราพิชัยสงครามซุนวู แปลโดยนายเสถียร วีรกุล ไว้ด้วย












เล่มล่างเป็นการพิมพ์ครังที่ 6 ซึ่งเล่มนี้มักอ้างถึงกันมาก เนื่องจากพิมพ์ในปี 2512 ได้เพิ่มในส่วนของกระบวนพยุหะ หรือ การจัดกระบวนทัพ เข้ามา 17 ภาพ




เล่มสุดท้าย น่าสนใจมาก คือ  ฉบับของ พลเอกหลวงสวัสดิสรยุทธ  ว่าด้วยหลักการสงคราม และประวัติและกิจการทหารการยุทธครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475   พิมพ์ในปี 2512






















ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา


email: drdanait@gmail.com